[TH] ulab EP 6 compare

บทความนี้เป็นตอนที่ 6 ของชุด ulab ของ MicroPython ซึ่งเป็นเรื่องของโมดูลย่อยชื่อ compare สำหรับการเปรียบเทียบข้อมูลแถวลำดับที่สร้างจาก ulab ซึ่งภาษาไพธอนไม่ได้สนับสนุนมาแต่ต้น โดยในบทความนี้อธิบายหน้าที่และการใช้งานฟังก์ชันของโมดูลย่อยตัวนี้เพื่อให้รู้จักและนำไปใช้งานต่อไป

[TH] ulab EP 5 numerical

บทความ ulab ตอนที่ 5 เป็นเรื่องของโมดูลย่อย numerical ที่ใช้ในการคำนวณหาค่าน้อยสุด มากสุด ผลรวม ค่าเฉลี่ย และค่าเบียงเบนมาตรฐาน ทำให้ทำงานด้านการคำนวณสถิติเบี้องต้นได้สะดวก โดยบทความอธิบายฟังก์ชันการทำงานของโมดูลย่อย numerical พร้อมตัวอย่างโปรแกรมเพื่อให้เห็นภาพของการทำงาน

[TH] ESP32 : Display of rotation squares with application ulab.

บทความนี้เป็นการใช้ ESP32 เพิ่อทำการหมุนสี่เหลี่ยมด้วยการใช้ไลบรารี ulab และนำผลจากการคำนวณไปแสดงผลที่โมดูลแอลซีดีกราฟิกที่ใช้หน่วยควบคุมเป็น ST7735s ดังที่เคยได้เขียนบทความไปแล้ว ซึ่งตัวอย่างของโปรแกรมประกอบด้วยการหมุนสี่เหลี่ยม 1 ชิ้นตามเข็มนาฬิกา และการหมุนสี่เหลี่ยมหลายชิ้นในทิศตรงกันข้ามกัน

คลิป 1 ตัวอย่างผลการทำงานที่ปรับแต่งความเร็วในการแสดงผลแล้ว

[TH] ulab EP 4 linalg

บทความตอนที่ 4 ของไลบรารี ulab เป็นเรื่องของโมดูลย่อย linalg ที่ใช้สำหรับการคำนวณพีชคณิตเชิงเส้น ซึ่งถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาแบบเชิงเส้น และเป็นเครื่องมือในการทำนายหรือศึกษาลักษณะของสิ่งที่เกิดขึ้นแบบเชิงเส้น โดยในบทความนี้กล่าวถึงฟังก์ชันต่าง ๆ ของโมดูลย่อย linalg และตัวอย่างการใช้งานเบื้องต้น

[TH] ulab EP3 vector

ในบทความเกี่ยวกับ ulab ในตอนที่ 3 นี้ เป็นเรื่องของโมดูลย่อย vector ของ ulab ที่ใช้สำหรับการคำนวณทางคณิตศาสตร์เช่นเดียวกับไลบรารี math ของ MicroPython โดยในเนื้อหาได้แสดงรายการฟังก์ชันที่ ulab บน ESP32 และ ESP8266 รองรับ พร้อมคำอธิบายหน้าที่ของฟังก์ชันนั้น ๆ

[TH] ulab EP2 array

จากบทความตอนที่ 1 ได้ติดตั้งและใช้งาน ulab กันไปเล็กน้อยเพื่อให้เห็นภาพการใช้งาน ส่วนบทความนี้กล่าวถึงโมดูลย่อย array เพื่อใช้สร้างแถวลำดับ 1 มิติและ 2 มิติในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น พร้อมตัวอย่างการใช้งาน โดยในตอนที่ 2 จะเพิ่มเติมเรื่องเครื่องหมายดำเนินการต่าง ๆ ที่ใช้กับแถวลำดับที่สร้างขึ้น

[TH] ulab EP1 Getting Started

ในกรณีที่ต้องการให้ MicroPython สำหรับ ESP8266 คำนวณทางคณิตศาสตร์เหมือนกับการใช้งานไลบรารี numpy ของภาษาไพธอนต้องติดตั้ง MicroPython ที่มี ulab อยู่ในตัว ด้วยการเข้าไปดาวน์โหลดเฟิร์มแวร์สำหรับ ESP8266 ได้จากที่เว็บนี้ สำหรับ ESP32 แบบปกติ และแบบมี PSRAM เพิ่มเติม (SPIRAM)

ในบทความนี้เป็นการแนะนำให้รู้จักกับ ulab และได้เห็นภาพรวมของไลบรารีภายใน ulab เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

ภาพที่ 1 เฟิร์มแวร์ MicroPython+ulab บน RSP8266

[TH] Using the DHT22/DHT11 Temperature and Humidity Sensor Module with ESP8266

บทความครั้งนี้เป็นการใช้งานโมดูลวัดค่าอุณหภูมิและความชื้น DHT22 และ DHT11 ด้วยภาษาไพธอน ซึ่งเป็นโมดูลเซ็นเซอร์ที่ทำงานด้วยการใช้สายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ทำให้ประหยัดพอร์ตของไมโครคอนโทรลเลอร์ในการเชื่อมต่อกับโมดูลเซ็นเซอร์ นอกจากนี้ MicroPython มีไลบรารีเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน DHT22 และ DHT11 จึงสะดวกและประหยัดเวลา ลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดจากการเขียนโปรแกรมด้วยตนเอง

ตัวอย่างในบทความนี้มี 3 ตัวอย่าง code17-1 เป็นการอ่านค่ามาแสดงผลแบปกติ แต่ code17-2 เป็นการวนรอบเพื่ออ่านซ้ำ โดยนำค่าที่อ่านมาหาค่าน้อยสุดและต่ำสุด พร้อมทั้งแสดงออกทางโมดูลแอลซีดีดังภาพที่ 8 และตัวอย่าง code17-3 เป็นการแสดงค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิและความชื้น

ภาพที่ 1 ผลลัพธ์จาก code17-1

[TH] Raspberry Pi 3 With Bootable SSD Drive

บทความนี้เป็นบันทึกสั้น ๆ สำหรับการทำให้ Raspberry Pi 3 บูตจาก HD SSD ที่เชื่อมต่อเข้าทางพอร์ต USB เพื่อให้การทำงานของบอร์ด Raspberry Pi 3 มีความเร็วที่มากขึ้นกว่าการใช้ micro SD-Card

ภาพที่ 1 Raspberry Pi 3 B+ ที่เชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ SSD SATA ผ่านทางพอร์ต USB