[EN] ulab EP1 Getting Started

For ESP8266’s MicroPython to perform mathematical calculations like using Python’s numpy library, MicroPython with ulab must be installed. You can download firmware for ESP8266 HERE. For normal ESP32 and with additional PSRAM (SPIRAM).

This article is an introduction to ulab and an overview of the libraries within ulab for further application.

(Figure. 1 MicroPython+ulab firmware on RSP8266

[TH] ulab v3.0

จากบทความ ulab ก่อนหน้านี้จะพบว่า Micropython สามารถใช้งานคำสั่งเกี่ยวกับการประมวลผลชุดข้อมูลเหมือนกับใช้ใน Numpy ได้ผ่านทางไลบรารี ulab ซึ่งก่อนหน้านี้ทีมผู้เขียนใช้งานรุ่น 0.54.0 ซึ่งเก่ากว่ารุ่นปัจจุบัน คือ 3.0.1 ทำให้เกิดบทความนี้ขึ้นมา โดยบทความกล่าวถึงวิธีการสร้าง Micropython ที่ผนวกไลบรารี ulab เข้าไป และใช้งานกับ esp32 รุ่นที่มี SPIRAM

ภาพที่ 1 รายการโมดูลของ ulab

ulab3

จากภาพที่ 1 จะพบว่า โครงสร้างไลบรารีของ ulab เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้การเขียนโปรแกรมจากตัวอย่างก่อนหน้านี้ต้องมีการปรับเปลี่ยน ซึ่งภายใต้ ulab จะมีไลบรารีของ numpy และ scipy เข้ามา ซึ่งรายละเอียดของ numpy ที่รองรับเป็นดังนี้

[TH] ESP Class

บทความนี้เป็นการเข้าไปดูรายละเอียดของไฟล์ ESP.h ของ esp8266 Arduino เพื่อศึกษาหน้าที่ฟังก์ชันต่าง ๆ ซึ่งมีประโยชน์มากต่อการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงานของไมโครคอนโทรลเลอร์ตัวนี้ เช่น การทราบจำนวนหน่วยความจำที่เหลืออยู่ หรือขนาดหน่วยความจำใหญ่ที่สุดที่สามรถจองได้ ซึ่งใช้ในการกรณีที่ต้องการเขียนโปรแกรมที่ใช้หน่วยความจำแบบพลวัติ (Dynamic) เพื่อเก็บรายชื่อ AP ที่พบทั้งหมด เป็นต้น โดยการผู้เขียนโปรแกรมสามารถใช้คลาสนี้ได้โดยตรงจากวัตถุ ESP

[TH] ESP8266 WebServer

บทความนี้เป็นการทดลองทำให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ esp8266 เป็นเครื่องให้บริการเว็บเพื่อแสดงผลค่าอุณหภูมิและความชื้นจากเซ็นเซอร์ DHT11 โดยใช้ไลบรารีของ Adafruit ดังภาพที่ 1 และเมื่อกำหนดให้ไมโครคอรโทรลเลอร์ทำงานในโหมด SoftAP เพื่อให้ลูกข่ายหรือผู้ใช้เชื่อมต่อ WiFi เข้ามาหลังจากนั้นใช้ Browser เข้าไปยัง IP หมายเลข 192.168.4.1 ซึ่งเป็นหมายเลขของ esp8266

ภาพที่ 1 ตัวอย่างการการต่ออุปกรณ์สำหรับบทความ

[TH] ESP-01s + Relay

บทความนี้เป็นการประยุกต์ใช้โมดูล ESP-01s เชื่อมต่อกับโมดูล ESP-01/01s Relay v4.0 ดังภาพที่ 1 เพื่อสั่งงานให้รีเลย์ทำงาน โดยตัวอย่างโปรแกรมเป็นการเปิดและปิดรีเลย์ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ซึ่งได้กล่าวถึงไปบ้างแล้วในบทความ WebServer แต่เพิ่มเติมคือเรื่องการดัก URL สำหรับนำมาเป็นอาร์กิวเมนต์ของการทำงาน

ภาพที่ 1 ตัวอย่างการทดลองในบทความ ESP-01s + Relay

[TH] ESP-01s

บทความนี้แนะนำโมดูล esp8266 ชื่อ ESP-01s ที่มีขาให้เชื่อมต่อ 8 ขา โดยอธิบายหน้าที่ของแต่ละขา การขยายวงจรเพื่อโปรแกรมชิพ (ตัวอย่างดังภาพที่ 1) การทำให้ชิพทำงาน และรวมถึงตัวอย่างการเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานโมดูลนี้ด้วย Arduino เพื่อให้เห็นภาพรวมในการพัฒนระบบซึ่งเป็นระบบที่ราคาน่ารักน่าสนใจระบบหนึ่ง

ภาพที่ 1 บอร์ดโปรแกรมชิพ ESP8266 ที่ใช้กับโมดูล ESP-01/ESP-01s

[TH] Arduino : ESP8266 GPIO

ในบทความนี้เป็นการเรียนรู้เรื่องของ GPIO (General Purpose I/O) หรือขาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกของไมโครคอนโทรลเลอร์ด้วยภาษา C++ ของ Arduino โดยใช้ esp8266 เป็นชิพอ้างอิง ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ Arduino Uno, Arduino Mega หรือ STM32 ได้เช่นกัน ภายใต้บทความนี้อธิบายเรื่องของการกำหนดหน้าที่ของขา การนำสัญญาณออก และการนำสัญญาณเข้า

ภาพที่ 1 WeMos D1 กับ GPIO ที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ

[TH] ESP8266WiFi

บทความนี้เป็นการเรียบเรียงข้อมูลที่เกี่ยวของกับคลาส ESP8266WiFi ซึ่งทำหน้าที่ด้านระบบ WiFi ของไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP8266 โดยคลาสดังกล่าวนี้สามารถเข้าถึงผ่านทางวัตถุชื่อ WiFi ที่เป็นวัตถุที่ถถูกสร้างขึ้นสำหรับเข้าถึงโมดูลไร้สายของชิพ และต้องนำเข้าไฟล์ส่วนหัวชื่อ ESP8266WiFi.h