[TH] การเขียนโปรแกรมไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์สำหรับสถานีอากาศผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย

บทความนี้เป็นตัวอย่างการเขียนโปรแกรมไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์สำหรับสถานีอากาศผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย (Client/Server Programming for Weather Stations via Wireless Networking) โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ esp32 จำนวน 2 ตัวสื่อสารกันผ่านเครือข่ายไร้สาย โดยกำหนดให้ตัวที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ DHT22 และ LDR เป็นเครื่องให้บริการ (Server) ทำงานในโหมด AP และบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ esp32 อีกบอร์ดหนึ่งทำงานเป็นลูกข่าย และสื่อผ่านทางพอร์ตที่กำหนดขึ้นมาเอง เพื่ออ่านค่าอุณหภูมิ ความชื้นและค่าดิจิทัลที่ได้จากเซ็นเซอร์ LDR ดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1 บอร์ดและอุปกรณ์สำหรับการทดลองครั้งนี้

[TH] ESP8266/ESP32 WiFi

บอร์ด ESP8266 และ ESP32 เป็นอุปกรณ์ที่มีระบบการเชื่อมต่อสัญญาณ WiFi ในตัว โดยสามารถทำงานได้ทั้งโหมดการให้ตนเองเป็น AP (Access Point) และโหมดลูกข่ายที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย WiFi ที่มีอยู่แล้วหรือ STA โดยผู้พัฒนาสามารถตั้งชื่อของอุปกรณ์ (ESSID) หรือใช้ชื่อตามค่าที่ตั้งจากระบบเป็น MicroPython-xxxx ซึ่ง x แทนค่า MAC Address ของอุปกรณ์ โดยรหัสผ่านเป็น micropythoN (ผู้พัฒนาสามารถกำหนดใหม่ได้) พร้อมรหัสหมายเลขไอพี (IP Address) เป็น 192.168.4.1

ภาพที่ 1 บอร์ดทดลอง ESP8266+Uno ของทีม JarutEx