Thonny เป็นเครื่องมือประเภทสภาพแวดล้อมแบบบูรณาการ หรือ IDE (Integrated development environment) ที่พัฒนาโดยชาวอสโตเนียชื่อ Aivar Annamaa ในปี ค.ศ. 2015 ภายใต้สิทธิ์การใช้งานแบบเปิดเผยรหัสโปรแกรม (Open Source) แบบ MIT และคุณสมบัติของโปรแกรมนั้นครอบคลุมการเขียนโค้ด ตรวจสอบโค้ด บริหารจัดการไลบรารีของภาษาไพธอน และรันโปรแกรมภาษาไพธอนที่เขียนขึ้นทำให้เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานในส่วนของการเขียนและทดสอบการทำงานที่ใช้งานง่ายเหมาะสมกับผู้เริ่มต้น
การติดตั้ง Thonny ทำได้โดยดาวน์โหลดไฟล์ชื่อ thonny-xxl-4.1.1.exe จากเว็บไซต์ thonny.org ดังภาพที่ ก-1
ภาพที่ ก-1 หน้าจอเว็บไซต์ thonny.org
การติดตั้งโปรแกรม Thonny
ให้เข้าโปรแกรมติดตั้งที่ดาวน์โหลด (มีภาพไอคอนเป็นดังภาพที่ ก-2 ด้านซ้าย) จะเข้าสู่หน้าจอต้อนรับการติดตั้งโปรแกรม Thonny ดังภาพที่ ก-2 ด้านขวา ให้คลิกที่ปุ่ม Next เพื่อดำเนินการต่อไป
ภาพที่ ก-2 (ซ้าย) ไอคอนของโปรแกรมติดตั้ง Thonny (ขวา) หน้าจอต้อนรับติดตั้งโปรแกรม
หลังจากเข้าสู่หน้าต้อนรับของโปรแกรมแล้วคลิก Next จะเป็นหน้าจอแสดงสิทธิ์ในการใช้งานซอต์แวร์ดังภาพ ก-3 (ซ้าย) ให้เลือกยอมรับแล้วคลิกที่ปุ่ม Next เพื่อเข้าสู่หน้าจอกำหนดไดเร็กทอรีสำหรับติดตั้งโปรแกรมดังภาพ ก-3 (ขวา) ด้วยการคลิกที่ปุ่ม Browse… เพื่อเลือกไดเร็กทอรีที่ต้องการ โดยปกติจะกำไว้เป็น C:\User\ชื่อผู้ใช้\AppData\Local\Programs\Thonny ทำให้การติดตั้งโปรแกรมไม่ส่งผลต่อผู้ใช้อื่นในเครื่อง เมื่อกำหนดหรือตกลงใจใช้ตามที่โปรแกรมกำหนดให้คลิกปุ่ม Next เพื่อดำเนินการต่อไป
ขั้นตอนถัดไปเป็นการกำหนดชื่อโฟลเดอร์ของไอคอนโปรแกรม Thonny ที่จะปรากฎในเมนู Start ของวินโดวส์ โดยค่าปกติจะชื่อ Thonny ดังภาพ ก-4 (ซ้าย) ให้คลิก Next เพื่อเข้าหน้าจอกำหนดให้แสดง
ไอคอนที่เดสค์ทอปดังภาพ ก-4 (ขวา) สุดท้ายคลิกปุ่ม Next เพื่อดำเนินการต่อไป
เมื่อกำหนดค่าสำหรับการติดตั้งเป็นที่เรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปที่โปรแกรมจะดำเนินการคือ สรุปผลของการตั้งค่าที่ได้เลือกไว้ดังภาพ ก-5 (ซ้าย) ถ้าไม่มีสิ่งใดที่จะแก้ไข (การแก้ไขทำได้ด้วยการคลิก Back เพื่อกลับไปขั้นตอนก่อนหน้า) ให้คลิกที่ปุ่ม Next เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการติดตั้ง โดยโปรแกรมจะแสดงความก้าวหน้าของการติดตั้งด้วยการรายงานสิ่งที่ทำและแสดงแถบความก้าวหน้าดังภาพ ก-5 (ขวา) ในขั้นตอนนี้ต้องรอการติดตั้งจนกว่าการติดตั้งจะเสร็จสิ้น แล้วจะเปลี่ยนหน้าจอเป็นตามภาพ ก-6 (ซ้าย) แล้วคลิกที่ปุ่ม Finish จะได้ไอคอนโปรแกรม Thonny ดังภาพ ก-6 (ขวา) แต่ถ้าต้องการบกเลิกการติดตั้งให้คลิกที่ปุ่ม Cancel
การใช้งานโปรแกรม Thonny เบื้องต้น
ให้เรียกใช้โปรแกรม Thonny จากการดับเบิลคลิกที่ไอคอนโปรแกรมตามภาพ ก-6 (ขวา) จะเข้าสู่โปรแกรมดังภาพ ก-7 (ชวา) แต่ถ้าเป็นการใช้งานโปรแกรมเป็นครั้งแรกจะแสดงหน้าจอดังภาพ ก-7 (ซ้าย) เพื่อให้ผู้ใช้งานกำหนดภาษาในการสื่อสารในหน้าจอ และเลือกการตั้งค่าการทำงาน โดยในที่นี้เลือกเป็นภาษาอังกฤษและใช้การตั้งค่าแบบมาตรฐาน (Standard)
จากภาพ ก-7 (ขวา) จะพบว่าโปรแกรมประกอบด้วยส่วนของเมนูสั่งงาน ส่วนเขียนโปรแกรมที่สามารถเปิดหน้าโปรแกรมโดยแต่ละโปรแกรมจะอยู่ในแท็บของตนเองที่ระบุตามชื่อโปรแกรมบนแท็บ (ในภาพเป็นชื่อ <untitled> อันหมายถึงยังไม่มีการตั้งชื่อโปรแกรม) ช่องหน้าต่าง Shell และแถบแสดงสถานะของการทำงานของโปรแกรม โดยจากภาพรายงานว่าเป็นการใช้ไพธอนจากภายในโปรแกรมของ Thonny (Local Python3)
ในภาพ ก-8เป็นหน้าจอของเมนู File ที่รวบรวมคำสั่งเกี่ยวกับไฟล์ของโปรแกรมที่ขาย โดยรายละเอียดของแต่ละเมนูเป็นดังนี้
- New สำหรับสร้างเอกสารโค้ดโปรแกรมใหม่และสร้างแท็บสำหรับเขียนโค้ดใหม่
- Open สำหรับเปิดเอกสารโค้ดโปรแกรมที่เขียนไว้ก่อนแล้วเพื่อนำมาแก้ไข
- Recent files … สำหรับเลือกเปิดไฟล์เก่าที่เรียกใช้เมื่อก่อนหน้านี้
- Close สำหรับปิดแท็บของโปรแกรมที่กำลังแก้ไข
- Close all สำหรับปิดทุกแท็บ
- Save สำหรับบันทึกโปรแกรมในแท็บที่กำลังแก้ไข
- Save all สำหรับทำการบันทึกทุกไฟล์
- Save as.. สำหรับบันทึกโปรแกรมที่กำลังแก้ไขเป็นไฟล์ใหม่และดำเนินการแก้ไขไฟล์ใหม่ที่บันทึก
- Save copy… สำหรับบันทึกโปรแกรมที่กำลังแก้ไขลงไฟล์ใหม่ และดำเนินการแก้ไขไฟล์เดิมต่อไป
- Move/rename… สำหรับย้ายที่อยู่ของไฟล์ที่กำลังแก้ไข/เปลี่ยนชื่อ
- Print สำหรับพิมพ์โค้ดโปรแกรมออกเครื่องพิมพ์
- Exit สำหรับออกจากโปรแกรม Thonny
เมนูใช้งานถัดไปชื่อ Edit ดังภาพ ก-9 ทำหน้าที่เก็บคำสั่งเกี่ยวกับการแก้ไขโค้ด โดยมีรายการของเมนูใช้งานดังต่อไปนี้
- Undo สำหรับยกเลิการดำเนินการที่ทำกับโปรแกรม
- Redo สำหรับให้ทำสิ่งที่เพิ่งถูกยกเลิก
- Cut สำหรับตัดข้อความที่เลือกออกจากโค้ดโปรแกรมและนำข้อความที่ตัดนั้นเก็บในคลิปบอร์ด (Clipboard)
- Copy สำหรับคัดลอกข้อความที่เลือกไปเก็บในคลิปบอร์ด
- Paste สำหรับนำข้อความที่เก็บในคลิปบอร์ดมาวาง ณ ตำแหน่งที่เคอร์เซอร์ปรากฎอยู่
- Select all สำหรับทำการเลือกข้อความทั้งหมดในโปรแกรม
- Indent selected line สำหรับเลื่อนแท็บของบรรทัดที่เคอร์เซอร์อยู่ให้เข้าไปทางขวา
- Dedent selected line สำหรับเลื่อนแท็บของบรรทัดที่เคอร์เซอร์อยู่ให้ออกมาทางซ้าย
- Replace tab with spaces สำหรับแทนที่แท็บด้วยช่องว่าง
- Toggle comment สำหรับแปลงข้อความในบรรทัดเพื่อเปลี่ยนหรือยกเลิกการให้เป็น comment
- Comment out สำหรับนำเครื่องหมาย comment เติมไว้ด้านหน้าบรรทัด
- Uncomment สำหรับนำเครื่องหมาย comment ออกจากด้านหน้าบรรทัด
- Goto line … สำหรับย้ายเคอร์เซอร์ไปยังบรรทัดที่กำหนด
- Auto-complete สำหรับเติมคำแบบอัตโนมัติ
- Show parameter infoแสดงรายละเอียดของพารามิเตอร์
- Find and replaceสำหรับดำเนินการค้นหาและแทนที่ข้อความในโปรแกรมที่เขียน
- Clear shell สำหรับสั่งลบข้อความในหน้าต่าง Shell
เมนูคำสั่ง View ดังภาพ ก-10 ใช้สำหรับเปิดหรือปิดหน้าต่าง/แท็บของโปรแกรม Thonny หรือปรับแต่งขนาดตัวอักษร และย้ายเคอร์เซอร์ไปหน้าต่างเขียนโปรแกรมหรือเชลล์ อันได้แก่
- Assistantสำหรับเปิดหรือปิดหน้าต่างให้คำแนะนำ
- Exceptionสำหรับเปิดหรือปิดหน้าต่างแสดง Exception
- Filesสำหรับเปิดหรือปิดหน้าต่าง Files เพื่อใช้สำหรับบริหารจัดการไดรฟ์/โฟลเดอร์และไฟล์
- Heapสำหรับเปิดหรือปิดหน้าต่างหน่วยความจำที่ถูกใช้งาน (Heap)
- Helpสำหรับเปิดหรือปิดหน้าต่างให้ความช่วยเหลือ
- Outlineสำหรับเปิดหรือปิดหน้าต่างจดบันทึกข้อความ
- Program treeสำหรับเปิดหรือปิดหน้าต่างการติดตามค่าของตัวแปร/วัตถุ
- Shellสำหรับเปิดหรือปิดหน้าต่าง Shell
- Stackสำหรับเปิดหรือปิดหน้าต่าง Stack
- Variablesสำหรับเปิดหรือปิดหน้าต่างรายการตัวแปร
- Program arguments สำหรับแสดงรายการอาร์กิวเมนต์ของโปรแกรม
- Plotter สำหรับเปิดหน้าต่างแสดงกราฟ
- Increase font sizeปรับขนาดของตัวอักษรให้ใหญ่ขึ้น
- Decrease font size หรับลดขนาดตัวอักษร
- Focus editor สำหรับย้ายเคอร์เซอร์ไปที่ Editor
- Focus shell สำหรับย้ายเคอร์เซอร์ไปที่ Shell
ตัวอย่างการเปิดหน้าต่าง Files จะแสดงหน้าต่างย่อยทางด้านซ้ายมือชื่อ Files อันมีหน้าที่สำหรับเข้าถึงไดรฟ์/ไดเร็กทอรีและไฟล์ในเครื่องทำให้สามารถบริหารจัดการไฟล์หรือโฟลเดอร์ได้สะดวกจากโปรแกรม Thonny
เมนูคำสั่งถัดมาชื่อ Run ดังภาพ ก-12 ที่มีเมนูคำสั่งสำหรับตั้งค่าตัวรันโปรแกรม รันโปรแกรมหรือการเรียกให้โปรแกรมเริ่มทำงาน/ตรวจสอบการทำงาน (Debug) ของโปรแกรม และหยุด/เริ่มต้นการทำงาน, ขัดจังหวะการทำงาน หรือสั่งเริ่มต้นใหม่
เมนูสุดท้ายที่แนะนำคือ Tools ดังภาพ ก-13 เป็นกลุ่มคำสั่งที่เกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
- บริหารจัดการไลบรารีหรือแพ็กเก็จ (packages) ที่ติดตั้งใช้งาน
- เปิด Shell เพื่อใช้งานระบบสภาพแวดล้อมภาษาไพธอนของ Thonny เพื่อสั่งงานด้วยชุดคำสั่ง
- เปิดหน้าต่างของโฟลเดอร์โปรแกรม Thonny
- เปิดหน้าต่างโฟลเดอร์เก็บข้อมูลของโปรแกรม Thonny
- บริหารจัดการปลักอินของโปรแกรม Thonny
- ตั้งค่าเพื่อปรับแต่งโปรแกรม Thonny
การจัดไลบรารีของไพธอน
ไพธอนเป็นภาษาที่มีไลบรารีให้ใช้งานมากมาย และมีการปรับปรุงไลบรารีทำให้โปรแกรม Thonny
มีส่วนของการติดตั้งไลบรารีที่ต้องการใช้งาน การปรับรุ่นไลบรารีที่ติดตั้งไว้ก่อนหน้า และการลบไบรารีที่ไม่ได้ใช้งาน ผ่านทางคำสั่ง Management packages… ที่อยู่ในเมนู Tools โดยหน้าต่างของโปรแกรมเป็นดังภาพ ก-14 หน้าต่างนี้รองรับการทำงาน 3 อย่าง คือ
1. เป็นหน้าต่างสำหรับแสดงรายการไลบรารีที่ติดตั้งเอาไว้ใน Thonny
2. สามารถติดตั้ง/ถอนการติดตั้งและปรับปรุงไลบรารี
3. ขั้นตอนการใช้งาน
3.1 พิมพ์ชื่อไลบรารี
3.2 คลิกค้นหา
3.3 เลือกรุ่นของไลบรารี
3.4 สั่งติดตั้ง/ถอนการติดตั้ง/ปรับปรุง
ข้อแตกต่างระหว่างการใช้โปรแกรม Thonny การติดตั้งภาษาไพธอนแบบปกติ คือ โปรแกรม Thonny เตรียมภาษาไพธอนพื้นฐานรุ่น 3.10.9 พร้อมไลบรารีเอาไว้ให้ผู้ใช้งาน และสามารถติดตั้งเพิ่มเติมได้โดยทุกไลบรารีจะอยู่ภายในสภาพแวดล้อมการพัฒนาซอฟต์แวร์ของ Thonny ทำให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สามารถติดตั้งโปรแกรมไพธอนรุ่นที่ใหม่กว่าโดยไม่มีการกระทบต่อกันกับโปรแกรม Thonny และสามารถให้โปรแกรม Thonny เลือกใช้งานไพธอนที่มากับโปรแกรมหรือเปลี่ยนไปใช้ไพธอนที่ผู้ใช้งานติดตั้งเองได้ด้วย
การเลือกจากเมนู Tools ในคำสั่ง Options. ..
สรุป
โปรแกรม Thonny เป็นโปรแกรมสำหรับเรียนรู้การพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาไพธอนที่รองรับไพธอนที่มากับโปรแกรมเองหรือเปลี่ยนไปใช้โปรแกรมที่ผู้ใช้งานติดตั้งเอง โดยตัวโปรแกรมนอกจากใช้สำหรับแก้ไขโค้ดโปรแกรมแบบมีการแยกแยะรูปแบบภาษาทำให้มองเห็นความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ง่าย และสามารถสั่งรันหรือทำการดีบักโปรแกรมได้จากเครื่องมือต่าง ๆ รวมไปถึงตรวจสอบตัวแปรที่เป็นทั้งจุดเด่นอละจุดด้อยของไพธอนเนื่องจากไม่ต้องระบุประเภทของชนิดข้อมูลที่เก็บทำให้บ่อยครั้งที่เมื่อเขียนโค้ดโดยระบุชื่อตัวแปรเดียวกันแต่ค่าเปลี่ยนไปแตกต่างประเภทกันโดยไม่ได้สังเกต เป็นต้น
(C) 2020-2023, โดย อ.ดนัย เจษฎาฐิติกุล/อ.จารุต บุศราทิจ
ปรับปรุงเมื่อ 2023-06-27