[TH] Arduino: ESP32 PWM.

บทความนี้กล่าวถึงการใช้ PWM (Pulse Width Modulate) ของไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 ในเฟรมเวิร์ก Arduino หลังจากที่ได้กล่าวถึงการทำงานของส่วนนี้ใน ESP-IDF และ MicroPython ไปแล้ว โดยบทความกล่าวถึงฟังก์ชัน การใช้งาน และตัวอย่างโปรแกรม ด้วยการเชื่อมต่อบอร์ดกับลำโพงดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1 บอร์ด esp32G2 ที่ติดตั้งลำโพงแบบบัซเซอร์ไว้ที่ GPIO19

[TH] Arduino: ESP32-S2’s DAC&ADC.

หลังจากที่ทดสอบ DAC และ ADC ของทั้ง ESP32, SAM-D21, LGT8F328P และ STM32L432KC เป็นที่เรียบร้อย ครั้งนี้ก็เป็นคราวของ ESP32-S2 ที่ทางเรามีใช้งานอยู่ โดยการทดสอบการทำงานยังคงเป็นเหมือนก่อนหน้านี้ที่ใช้ DAC ส่งคลื่น 3 ลักษณะคือ ฟันปลา สามเหลี่ยม และคลื่นรูปไซน์ออกมา และเขื่อมต่อเข้ากับขาของ ADC เพื่อนอ่านค่า พร้อมทั้งทดสอบดูกราฟว่ามีลักษณะออกมาเป็นอย่างไร

ในการทดลองนี้ได้เชื่อมต่อ DAC1 เข้ากับ ADC ดังภาพที่ 1 โดย ESP32-S2 มี DAC ขนาด 8 บิตจำนวน 2 พอร์ตเรียกว่า DAC1 และ DAC2 ส่วน ADC มีความละเอียด 12 บิต ซึ่งจะเห็นว่ามีคุณสมบัติเหมือนกับ ESP32 แต่จะได้ผลลัพธ์เหมือนกันหรือไม่นั้นคงบอกได้ว่าน่าจะแตกต่างเนื่องจากใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์คนละรุ่นกัน โดยใน ESP32-S2 ใช้ตัวเดียวกับ ESP32-S3 ที่มีเพียงแกนเดียว และไม่มี BLE

ภาพที่ 1 บอร์ด Neucleo L432KC เชื่อมต่อขา A3 เข้ากับ D3

[TH] Try the SoftHost USB library for ESP32.

บทความนี้เป็นตัวอย่างการนำ ESP32 Soft Host ของ nathalis มาทดลองใช้งานและทดลองแสดงผลที่จอแสดงผล OLED ที่มีความละเอียด 128×64 จุด ดังภาพที่ 1 เพื่อรับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ หรือเมาส์ ทำให้ใช้ GPIO เพียงไม่กี่ขาแต่สามารถรับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ที่มีจำนวนปุ่มที่เยอะได้ ซึ่งโดยปกติแล้วตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 ไม่รองรับการทำเชื่อมต่อกับ USB โดยตรงจึงต้องอาศัยการเขียนโปรแกรมด้วยการใช้ตัวตั้งเวลาหรือ Timer มาตรวจสอบสถานะของสายสัญญาณขา D- และ D+ เพื่อนำมาประกอบกันเป็นข้อมูลในระดับไบต์และนำมาประกอบกันเป็นแพ็คของข้อมูลเพื่อทำการตีความต่อไป

ภาพที่ 1 อุปกรณ์และบอร์ดที่เชื่อมต่อกันเพื่อเป็นตัวอย่างในบทความนี้

[TH] Arduino: STM32L432 Nucleo-32’s DAC&ADC.

จากที่ได้อ่านบทความ การใช้งาน STM32 Core Support for Arduino สำหรับบอร์ด Nucleo L432KC ของอาจารย์ เรวัต ศิริโภคาภิรมย์ ทางเราเลยได้จัดหาบอร์ดมาทดลองใช้งานและเชื่อมต่อขาสำหรับส่งข้อมูลออก DAC ไปยัง ADC ตามภาพที่ 1 เพื่อทดสอบการทำงานของภาค DAC และ ADC ของบอร์ดโดยใช้โค้ดการทำงานเหมือนกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32, SAM-D21 และ LGT8F328P ว่าเป็นอย่างไร มาติดตามกันครับ

ภาพที่ 1 บอร์ด Neucleo L432KC เชื่อมต่อขา A3 เข้ากับ D3

[TH] Arduino: The LGT8F328P’s ADC/DAC.

บทความนี้เป็นบทความที่ต่อเนื่องจากบทความแนะนำบอร์ด LGT8F328P และการใช้ ADC และ DAC ในก่อนหน้านี้ โดยเน้นที่การใช้งานสำหรับชิพ LGT8F328P เป็นหลัก โดยการใช้งานนั้นจะแตกต่างจาก SAM-D21 ตรงที่ ใช้ขา D4 เป็นขาที่ทำหน้าที่ DAC0 และวงจร DAC มีความละเอียดในการทำงานระดับ 8 บิต หรือส่งออกค่าได้ตั้งแต่ 0 ถึง 255 ส่วนภาค ADC นั้นใช้ขา A0, A1, … ได้ตามปกติ และมีความละเอียดในการทำงาน 12 บิต ดังนั้น ในบทความนี้จึงใช้การเชื่อมต่อขาจาก A0 เข้ากับ D4 ในการทดลองดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1 บอร์ด LGT8F328P เชื่อมต่อขา A0 เข้ากับ D4

[EN] u8g2 Library

From the article on using the ESP8266 with an OLED graphical display written in Python, you’ll find that it’s fast and easy but when used with other microcontrollers that cannot use Micropython or CircuitPython, what must be done? One of the many options is the u8glib or u8g2 (Universal 8 bit Graphics Library) libraries, designed to work with monochromatic 8-bit graphics over either I2C or SPI communication. In this article, we are using I2C OLED as shown in Figure 1.

(Figure. 1 STM32F401CCU6 with I2C OLED)

[TH] Arduino ADC/DAC

บทความนี้แนะนำบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 และ SAM-D21 มาใช้งานเพื่อเรียนรู้การใช้คำสั่งเกี่ยวกับ ADC (Analog to Digital Converter) และ DAC (Digital to Analog Converter) ด้วยการเชื่อมต่อขา DAC เข้ากับ ADC ดังตัวอย่างภาพที่ 1 (เชื่อม A0 เข้า A1 ของบอร์ด SAM-D21) และ 2 (เชื่อมต่อขา GPIO26 เข้ากับ GPIO36 ของ ESP32) เพื่อส่งข้อมูลที่ไป DAC และให้ ADC อ่านค่ากลับเข้ามา และส่งผลลัพธ์ออกไปที่พอร์ตอนุกรมสำหรับแสดงผลด้วย Serial Plotter ซึ่งตัวอย่างโปรแกรมสั่งส่งข้อมูล 3 แบบ คือ กราฟแบบฟันปลา กราฟแบบสามเหลี่ยม และกราฟรูปคลื่นจากฟังก์ชันไซน์

ภาพที่ 1 บอร์ด SAM-D21 เชื่อมต่อขา A0 เข้ากับ A1
ภาพที่ 2 บอร์ด ESP32 ที่เชื่อมต่อขา 26 เข้ากับ 36

[TH] Cortex-M0+: SAMD21

บทความนี้แนะนำบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ใช้ชิพ ATSAMD21G18 ของบริษัท Microchip ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM แบบ 32 บิต แกนตระกูล Cortex-M0+ ในรูปแบบบอร์ดตามตระกูล Arduino Uno ดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1 บอร์ด SAMD21 ในฟอร์มของ Arduino Uno

[EN] ESP Class

This article is a detailed look at the ESP.h file of esp8266 Arduino to learn the functions that are very useful for programming to control the operation of this microcontroller such as knowing the amount of memory remaining or the largest memory size that can be reserved. This is used if you want to write a program that uses dynamic memory to store a list of all found APs, for example, programmers can use this class directly from the ESP object.