ในบทความก่อนหน้านี้ได้แนะนำการเขียนโปรแกรมเพื่อใช้โครงสร้างข้อมูลแบบคิวไปแล้ว ในบทความนี้จึงแนะนำการเขียนโปรแกรมจัดการโครงสร้างข้อมูล (Data Structure) อีกประเภทหนึ่งซึ่งมีวิธีการจัดเก็บและจัดการที่แตกต่างกันไปอันมีชื่อว่าต้นไม้แบบ BST หรือ Binary Search Tree ดังในภาพที่ 1 ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สามารถนำไปประยุกต์เกี่ยวกับการเก็บข้อมูลที่มีคุณลักษณะที่ข้อมูลทางกิ่งด้านซ้ายมีค่าที่น้อยกว่าตัวเอง และกิ่งด้านขวามีค่ามากกว่าต้นเอง หรือทำตรงกันข้ามคือกิ่งซ้ายมีค่ามากกว่า และกิ่งด้านขวามีค่าน้อยกว่า ทำให้การค้นหาข้อมูลในกรณีที่ต้นไม้มีความสมดุลย์ทั้งทางซ้ายและทางขวาบนโครงสร้าง BST ประหยัดเวลาหรือจำนวนครั้งในการค้นหาลงรอบละครึ่งหนึ่งของข้อมูลที่มี เช่น มีข้อมูล 100 ชุด ในรอบแรกถ้าตัวเองยังไม่ใช่ข้อมูลที่กำลังค้นหา จะเหลือทางเลือกให้หาจากกิ่งทางซ้ายหรือขวา ซึ่งการเลือกทำให้ข้อมูลของอีกฝั่งนั้นไม่ถูกพิจารณา หรือตัดทิ้งไปครึ่งหนึ่งโดยประมาณ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ Binary Search Tree นั้นขาดความสมดุลย์จะส่งผลให้การค้นหามีความเร็วไม่แตกต่างกับการค้นหาแบบลำดับ (Sequential Search) เท่าใดนัก
ในบทความนี้ใช้ภาษาไพธอนที่ทำงานได้ทั้งบนตัวแปลภาษา Python 3 หรือ MicroPython เพื่อจัดเก็บข้อมูล การเพิ่มข้อมูล การค้นหาข้อมูล เพื่อเป็นตัวอย่างของการนำไปพัฒนาต่อไป