[TH] How to make the stopwatch?

จากบทความสร้างนาฬิกาที่แสดงผลแบบแอนาล็อกแสดงผ่านจอแสดงผลแบบสี ครั้งนี้นำมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อสร้างการทำงานเป็นเครื่องจับเวลาหรือนาฬิกาจับเวลา (Stopwatch) โดยใช้บอร์ด ESP32-CAM เชื่อมต่อกับจอ TFT และใช้สวิตช์จากขา GPIO0 ที่ใช้เป็นสวิตช์เลือกโหมดทำงานหรือโปรแกรมชิพเมื่อตอนบูตระบบหรือจ่ายไฟเข้าบอร์ด ESP32-CAM ดังภาพที่ 1 และการเขียนโปรแกรมยังคงใช้ภาษาไพธอนกับตัว MicroPython เช่นเคย

ภาพที่ 1 บอร์ด dCore RED บอร์ด esp32cam+REDTAB

[TH] Binary Search Tree data structure programming with Python.

ในบทความก่อนหน้านี้ได้แนะนำการเขียนโปรแกรมเพื่อใช้โครงสร้างข้อมูลแบบคิวไปแล้ว ในบทความนี้จึงแนะนำการเขียนโปรแกรมจัดการโครงสร้างข้อมูล (Data Structure) อีกประเภทหนึ่งซึ่งมีวิธีการจัดเก็บและจัดการที่แตกต่างกันไปอันมีชื่อว่าต้นไม้แบบ BST หรือ Binary Search Tree ดังในภาพที่ 1 ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สามารถนำไปประยุกต์เกี่ยวกับการเก็บข้อมูลที่มีคุณลักษณะที่ข้อมูลทางกิ่งด้านซ้ายมีค่าที่น้อยกว่าตัวเอง และกิ่งด้านขวามีค่ามากกว่าต้นเอง หรือทำตรงกันข้ามคือกิ่งซ้ายมีค่ามากกว่า และกิ่งด้านขวามีค่าน้อยกว่า ทำให้การค้นหาข้อมูลในกรณีที่ต้นไม้มีความสมดุลย์ทั้งทางซ้ายและทางขวาบนโครงสร้าง BST ประหยัดเวลาหรือจำนวนครั้งในการค้นหาลงรอบละครึ่งหนึ่งของข้อมูลที่มี เช่น มีข้อมูล 100 ชุด ในรอบแรกถ้าตัวเองยังไม่ใช่ข้อมูลที่กำลังค้นหา จะเหลือทางเลือกให้หาจากกิ่งทางซ้ายหรือขวา ซึ่งการเลือกทำให้ข้อมูลของอีกฝั่งนั้นไม่ถูกพิจารณา หรือตัดทิ้งไปครึ่งหนึ่งโดยประมาณ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ Binary Search Tree นั้นขาดความสมดุลย์จะส่งผลให้การค้นหามีความเร็วไม่แตกต่างกับการค้นหาแบบลำดับ (Sequential Search) เท่าใดนัก

ในบทความนี้ใช้ภาษาไพธอนที่ทำงานได้ทั้งบนตัวแปลภาษา Python 3 หรือ MicroPython เพื่อจัดเก็บข้อมูล การเพิ่มข้อมูล การค้นหาข้อมูล เพื่อเป็นตัวอย่างของการนำไปพัฒนาต่อไป

BST : Binary Search Tree
ภาพที่ 1 ตัวอย่าง BST

[TH] LEDs on/off via PyQt5 and serial communication.

ในบทความนี้ใช้ความรู้จากบทความการอ่านรายชื่อพอร์ตอนุกรมที่ถูกเชื่อมต่อมาปรับปรุงให้เป็นการส่งข้อมูลส่งไปให้บอร์ด Arduino Uno ที่มีหลอดแอลอีดี (LED) เชื่อมต่ออยู่ที่ขา 2,3,4,5,6,7,8 และ 9 ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสั่งเปิดหรือปิดหลอดดังกล่าวด้วยการสั่งงานผ่าน GUI (Graphics User Interface) ของ PyQt5 ดังภาพที่ 1 และส่งข้อมูลไปให้บอร์ด Uno ทางพอร์ตสื่อสารอนุกรมด้วย pySerial โดยในตัวอย่างครั้งนี้ การทำงานรองรับทั้งระบบปฏิบัติการ Windows, macOS และ Linux ซึ่งจะทำให้เห็นว่า PyQt5 และ pySerial สามารถรองรการทำงานกับทั้ง 3 ระบบได้

[TH] List the serial ports connected to the RPi with pySerial and PyQt5.

จากบทความก่อหน้านี้เราได้อ่านรายชื่ออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตอนุกรมของบอร์ด Raspberry Pi หรือ RPi ด้วยไลบรารี pySerial ดังภาพที่ 1 ในแบบโหมดตัวอักษรไปแล้ว ในบทความนี้เป็นการผนวกหลักการทำงานจากก่อนหน้าเข้ากับการใช้ส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิกส์ หรือ GUI (Graphics User Interface) ผ่านทางไลบรารี PyQt5 โดยแสดงรายการเอาไว้ใน combobox เพื่อให้ผู้ใช้งานเลือกใช้งานได้ แต่ถ้าไม่พบพอร์ตสื่อสารอนุกรมที่เชื่อมต่อกับบอร์ด RPi จะปิดการใช้งานของ combobox ไม่ให้ผู้ใช้งานเลือกใช้งาน ดังนั้น บทความนี้จึงมีเนื้อหาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ pySerial กับการใช้งานของ QLabel และ QComboBox ในไลบรารี PyQt5

[TH] Control movement from a joystick via WiFi with MicroPython.

บทความนี้เกิดจากการนำบทความการเขียนโปรแกรมไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์สำหรับสถานีอากาศผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย หรือ WiFi มาปรับเปลี่ยนจากการอ่านข้อมูลจากเซ็นเซอร์มาเป็นจอยสติกชิลด์ (Arduino Joystick Shield) เพื่อให้กลายเป็นเกมคอนโทรลเลอร์แบบไร้สายโดยใช้ MycroPython กับไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 ดังภาพที่ 1 ทำให้สามารถควบคุมการเคลื่อนที่ของวัตถุในจอแสดงผลผ่านจอ TFT แบบ ST7735 ที่เชื่อมต่อกับ ESP32 อีกตัวหนึ่งได้ ซึ่งจะพบว่าการใช้งานภาษาไพธอนของ MicroPython นั้นสามารถนำมาใช้งานได้กับกรณีตัวอย่างนี้ และด้วยภาษาที่เขียนได้ง่ายประกอบกับสามารถปรับแก้โค้ดได้โดยไม่ต้องคอมไพล์และอัพโหลดใหม่จึงสะดวกต่อการเขียนโค้ดต้นแบบเพื่อนำไปพัฒนาให้มีความเร็วในการทำงานที่สูงขึ้นต่อไป

Control movement from a joystick via WiFi
ภาพที่ 1 อุปกรณ์การทดลองในบทความ

[TH] How to used Arduino 2.4″ TFT LCD&Touch Shield with STM32F401?

จากบทความก่อนหน้านี้ที่ได้ใช้จอแสดงผลขนาด 3.5″ สำหรับบอร์ด Raspberry Pi มาใช้งานกับ ESP32 ไปแล้ว ทางทีมงานเรายังมี Arduino 2.4″ TFT LCD&Touch Shield ที่ใช้กับ Arduino Uno และ Arduino Mega (ดังภาพที่ 1) และต้องการใช้งานกับไมโครคอนโทรลเลอร์ STM32F401RET6 ด้วยบอร์ด NUCLEO-F401RE และ STM32F401CC (ภาพที่ 2) ซึ่งเป็น Cortex-M4 ที่มีหน่วยความจำ 96KB และ 64KB ตามลำดับ ส่วนหน่วยความจำ ROM นั้นเป็น 512KB และ 128KB พร้อมทั้งทำการเชื่อมต่อสวิตช์จำนวน 8 ตัวเข้ากับขาของไมโครคอนโทรลเลอร์ โดยในบทความนี้ใช้บอร์ด ET-TEST 10P/INP (ภาพที่ 3) เพื่อใช้แทนปุ่มซ้าย, บน, ล่าง,ขวา, m1,m2, A และ B ตามลำดับ

Nucleo-F401RE+Arduino Uno 2.4" TFT&Touch Shield
ภาพที่ 1 โมดูล Arduino Uno TFT&Touch Shield บนบอร์ด Nucleo-F401RE

[EN] ESP8266 and OLED

This article is about connecting the ESP8266 to an OLED, which is a two-color graphic LED, where 0 represents blank and 1 represents color dot. It is connected to the microcontroller via the I2C bus. How to use it and its functions are discussed as a guide and reference material for further implementation.

(Figure. 1 OLED usage)

[TH] The MaixPy’s image class Part 1. draw and find something.

บทความนี้กล่าวถึงการใช้คลาส image กับโมดูลแสดงผล TFT-LCD ของบอร์ด Sipeed M1W dock suit ผ่านทางคลาส lcd (MaixPy’s lcd class) ดังภาพที่ 1 ที่มีมากับ MaixPy เพื่อศึกษารายการคำสั่งที่คลาส image เตรียมไว้ให้ และตัวอย่างโปรแกรมการใช้งานคำสั่งเกี่ยวกับการสร้างวัตถุบัฟเฟอร์ การล้างค่าในบัฟเฟอร์ การลบบัฟเฟอร์ การวาดเส้นตรง วงกลม สี่เเหลี่ยม แสดงตัวอักษร การบันทึกข้อมูลจากบัฟเฟอร์ลงการ์ดหน่วยความจำ (microSD Card) การค้นหาเส้นตรงในบัฟเฟอร์ (find_lines) การค้นหาวงกลมในบัฟเฟอร์ (find_circles) และการค้นหาสี่เหลี่ยม (find_rects) ในบัฟเฟอร์ด้วยฟังก์ชันทำงานที่มีมาให้ ซึ่งใช้หลักการของ Hough Transform เพื่อหาตำแหน่งและพารามิเตอร์ของวัตถุที่ค้นหา

ภาพที่ 1 บอร์ด Sipeed M1W dock suit
ภาพที่ 1 บอร์ด Sipeed M1W dock suit

[TH] How to used RPi 3.5″ TFT LCD&Touch Shield with esp32?

เหตุเกิดจากทางทีมงานเราได้ซื้อจอแสดงผลขนาด 3.5″ สำหรับบอร์ด Raspberry Pi มาใช้งาน แล้วเกิดคำถามว่าถ้านำมาใช้กับบอร์ด ESP32 จะสามารถทำได้หรือไม่ ด้วยเหตุนี้ บทความนี้กล่าวถึงวิธีการใช้งานบอร์ดแสดงผล TFT LCD Shield ที่ออกแบบมาใช้กับ Raspberry Pi ของบริษัท Waveshare มาใช้กับไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 รุ่น TTGO T8 ผ่านทางไลบรารี TFT_eSPI เพื่อแสดงผล และใช้งานระบบหน้าจอสัมผัส (Touch Screen) ดังตัวอย่างภาพที่ 1

ภาพที่ 1 ตัวอย่างผลลัพธ์เมื่อนำมาใช้ ESP32