[TH] Simple MineSweeper

บทความนี้เป็นการทดลองสร้างเกม Simple MineSweeper ดังภาพที่ 1 ซึ่งใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 กับจอแสดงผล st7735 แบบ REDTAB ขนาด 1.8″ ความละเอียดของการแสดงผลเป็น 128×160 อันเป็นฮาร์ดแวร์เดียวกับเกม Simple Tetris [ตอนที่ 1, ตอนที่ 2 และตอนที่ 3] ที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ โดยยังคงใช้ MicroPython เป็นหลักเช่นเดิม และการอธิบายจะเริ่มเป็นขั้นตอน ๆ ไป จากสร้างหน้าจอ สุ่มค่า การนับค่า การควบคุมการเคลื่อนที่ การเลื่อนกรอบตัวเลือก การปิดไม่ให้เห็นข้อมูล การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการระบุว่าตำแหน่งใดน่าจะเป็นระเบิด การเลือกเปิด และการนับคะแนนเมื่อจบเกม

ตัวเกม Simple MineSweeper เป็นเกมแรก ๆ ที่พวกเราทำเลียนแบบเพื่อศึกษาวิธีคิดและพัฒนาเทคนิคการเขียนโปรแกรมมาตั้งแต่ยุคระบบปฏิบัติการ DOS และ Windows ที่เป็น GUI ของ DOS ซึ่งตอนนั้นเขียนและทำงานบนระบบปฏิบัติการ DOS พร้อมทั้งต้องเปลี่ยนโหมดเป็นกราฟิกส์โหมด ติดต่อกับเมาส์ และสั่งวาดพิกเซลเอง (จะว่าไปแล้วก็เหมือนกันกับการเขียนบนบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 แหละครับ แต่ไม่มีระบบปฏิบัติการให้ใช้) … ว่าแล้วมาทดลองสร้างกันดีกว่าครับ ดูจะรำลึกอดีตกันเนิ่นนานเลยทีเดียว

ภาพที่ 1 เกม simple mineSweeper

[TH] Simple Tetris Ep.3

บทความตอนสุดท้ายของการทำเกมเตตริสแบบง่าย (Simple Tetris) ที่ใช้ MicroPython กับไมโครคอนโทรลเลอร์ esp32 ตามที่ได้เขียนถึงในตอนที่ 1 และ 2 จาก 2 บทความแรกนั้น ผู้อ่านได้เรียนรู้การออกแบบโครงสร้างข้อมูล การวาดวัตถุที่ตกลงมาทั้ง 7 ชนิด และการควบคุมวัตถุให้เคลื่อนที่ไปทางซ้าย ขวา และการหมุน ส่วนในบทความที่ 2 ได้ให้วัตถุตกลงมาจากด้านบนและเก็บสถานะตำแหน่งของวัตถุเอาไว้ และในบทความนี้เป็นการทำให้วัตถุที่ตกลงมานั้นซ้อนกันได้ พร้อมทั้งการเลื่อนซ้าย ขวา และการหมุนวัตถุจะตรวจสอบการชนกับวัตถุเก่าที่เคยตกลงมาก่อน พร้อมทั้งตรวจสอบว่าเมื่อวัตถุตกลงมาจนถึงด้านล่างแล้วนั้นมีแถวใดบ้างที่ไม่มีช่องว่าง ถ้าพบแถวที่ไม่มีช่องว่างจะทำการลบแถวนั้นออกไป และสุดท้ายได้เพิ่มส่วนของการตรวจสอบการสิ้นสุดเกมในกรณีที่ไม่มีที่จะให้วัตถุตกลงมาและเคลื่อนที่ได้อีกดังภาพที่ 1 เป็นอันสิ้นสุดกระบวนการสร้างเกมแบบง่าย ๆ ของเรา

ภาพที่ 1 ตัวอย่างเกมของบทความนี้

[TH] Simple Tetris Ep.2

จากตอนที่แล้วเราได้วาดฉากหลัง การสุ่มวัตถุ การวาดวัตถุ การเลื่อนซ้ายขวา และการหมุนไปแล้ว ในบทความตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนก่อนตอนสุดท้ายของชุดการทำเกม Tetris โดยเนื้อหาเป็นเรื่องของการสร้างฉากหลังเป็นโครงสร้างข้อมูลตาราง ถ้าวัตถุตกลงมาจนถึงล่างสุดจะแปลงวัตถุนั้นให้เป็นข้อมูลหนึ่งของตาราง ดังภาพที่ 1และปรับปรุงเรื่องวิธีการตกลงมาของวัตถุและการควบคุม/แสดงผลวัตถุใหม่ด้วยการใช้ตัวตั้งเวลา โดยยังไม่ตรวจสอบการชนจากการเลื่อนซ้าย/ขวา การตรวจสอบว่าวัตถุตกลงมาซ้อนกับวัตถุก่อนหน้านี้หรือไม่การหมุน และการตัดแถวซึ่งจะกล่าวถึงในบทความตอนสุดท้ายหรือ Simple Tetris Ep.3

ภาพที่ 1 ตัวอย่างเกมของบทความนี้

[TH] Simple Tetris Ep.1

บทความนี้แนะนำการเขียนเกมเตตริส (Tetris) แบบง่าย โดยแสดงผลในตารางขนาด กว้าง 10 ช่อง และสูง 16 ช่อง ตามภาพที่ 1 โดยใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ esp32 ที่ต่อกับจอแสดงผลแบบ ST7735 และสวิตช์สำหรับควบคุมอีก 8 ตัว ที่สำคัญคือ เขียนด้วยภาษาไพธอนผ่าน MicroPython ที่คอมไพล์ให้ใช้ชุดไลบรารี st7735_mpy ซึ่งในบทความนี้กล่าวถึงการจัดเก็บวัตถุทั้ง 7 แบบที่เป็นสิ่งของหรือวัตถุที่ตกลงมาให้รองรับการแสดงผลและการหมุนวัตถุ กับการเลื่อนวัตถุไปทางซ้ายและขวา ส่วนการควบคุมและตรรกะของเกม Tetris จะกล่าวในบทความถัดไป

ภาพที่ 1 ตัวอย่างเกมของบทความนี้

[EN] SPI Bus

This article discusses the SPI bus functionality of the Arduino framework for use with the STM32F030F4P6, STM32F103C8, STM32F401, esp8266 and esp32. The operation of this bus requires at least 3 intercommunication cables: SCLK, MISO. and MOSI for transmitting the clock signal between the sender and the receiver. It serves to receive information from the sender. and used for sending information to the recipient.

From the use of 3 signal lines, it is found that data can be transmitted and received simultaneously. This is different from I2C bus communication that uses only one SDA cable to communicate. At the same communication speed, the SPI bus will receive and transmit data without waiting for an idle line, while I2C will have to wait for idle. With this in mind, SPI can send/receive data faster.

In addition, SPI uses a method to select the destination to communicate by instructing the endpoint to know by sending a signal to the SS pin of the terminal. Therefore, when connecting to multiple devices, SPI requires a larger number of pins to operate, while I2C uses device identification to communicate with each other by still using only one SDA cable, which saves more pins.

[TH] How to make the stopwatch?

จากบทความสร้างนาฬิกาที่แสดงผลแบบแอนาล็อกแสดงผ่านจอแสดงผลแบบสี ครั้งนี้นำมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อสร้างการทำงานเป็นเครื่องจับเวลาหรือนาฬิกาจับเวลา (Stopwatch) โดยใช้บอร์ด ESP32-CAM เชื่อมต่อกับจอ TFT และใช้สวิตช์จากขา GPIO0 ที่ใช้เป็นสวิตช์เลือกโหมดทำงานหรือโปรแกรมชิพเมื่อตอนบูตระบบหรือจ่ายไฟเข้าบอร์ด ESP32-CAM ดังภาพที่ 1 และการเขียนโปรแกรมยังคงใช้ภาษาไพธอนกับตัว MicroPython เช่นเคย

ภาพที่ 1 บอร์ด dCore RED บอร์ด esp32cam+REDTAB

[EN] I2C Bus/Wire.h

This article describes the methods of Wire.h, a class for communicating with devices over an I2C bus that uses two signal wires called SDA and SCL to transmit data between them. We have quite a number of articles about this type of communication and used as the main bus to develop devices by yourself and run through the bus, for example, articles on using esp8266 to connect to Arduino Uno or using esp8266 with stm32f030f4p6, etc.

[TH] Draw an analog clock using MicroPython.

บทความก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงการปรับปรุงปรับปรุงความเร็วในการแสดงผลด้วยการใช้เทคนิคดับเบิลบัฟเฟอร์ (double buffer) จึงนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการแสดงผลเป็นนาฬิกาแบบแอนาล็อกดังภาพที่ 1 ซึ่งวิธีการวาดนั้นใช้การคำนวณตรีโกณมิติเพื่อหาค่าพิกัด (x,y) ของปลายเข็มวินาที นาที และชั่วโมง โดยการทำงานของแต่ละวินาทีจะใช้ตัวตั้งเวลาหรือไทเมอร์ (Timer) เพื่อให้การทำงานนั้นใกล้เคียงกับเวลาจริงมากกว่าการวนรอบหรือการหน่วงเวลา

ภาพที่ 1 ตัวอย่างผลลัพธ์ของการวาดนาฬิกาแบบแอนาล็อก

[EN] Using ESP32’s ADC and DAC with Micropython.

This article describes the implementation of the ESP32 microcontroller’s ADC (Analog-to-Digital Converter) and DAC (Digital-to-Analog Convertor) with MicroPython’s Python subclasses ADC and DAC, which fall under the machine class to learn both subclasses along with an example program to use the class as shown in Figure 1 as a basis for further development.

(Figure. 1 ADC/DAC’s example of use)