[TH] Unity3D สุดยอดโปรแกรมสร้างเกม

บทความนี้แนะนำเกี่ยวกับโปรแกรม Unity3D ซึ่งเป็นโปรแกรมสร้างเกมที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นในการสร้างเกมอย่างมากมาย เรียกได้ว่าครบถ้วนเลยทีเดียว เช่น การจัดการวัตถุสามมิติ ระบบแรงโน้มถ่วง การเคลื่อนที่ของวัตถุ สร้างเกมได้หลายแพลตฟอร์ม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี การควบคุมวัตถุต่างๆจำเป็นต้องใช้ความรู้ทางด้านภาษาโปรแกรม ซึ่งสามารถฝึกฝนได้

ภาพที่ 1 Unity

[EN] 15-Puzzle Game

This article is an example of a 15-Puzzle game using the ml4m board with the results shown in Figure 1. It is a game that allows players to practice their strategic thinking skills, looking ahead to plan their shifting numbers. In addition to being in the form of numbers, it can also be changed from numbers to images, that is, transformed into an image and divided into 16 parts, and then allow the player to move the image to make it the same as the original. Also in the example, a buzzer is used to generate a beep sound using an 8-bit DAC of an esp32 microcontroller, as well as programming in Python on MicroPython.

(Figure. 1 4×4 random)

[EN] ESP32-ML4M : Tic-Tac-Toe Ep.2

From the article Tic-Tac-Toe games or OC games played with computers (esp32) via the console of the terminal program are inconvenient. Now let’s learn how to use the esp32 peripheral circuit of the ML4M board (Figure 1), how it has an I/O circuit and how is Tic-Tac-Toe game is played through the device in which the code works with the joystick module and touch switch.

(Figure. 1 ml4m for Tic-Tac-Toe testing)

[EN] Tic-Tac-Toe

This article is a collection of examples of Tic-Tac-Toe games that our team uses to teach game development in different languages ​​as appropriate for the group of learners. But most of them use Python for teaching because it is easier to explain and write than other languages. In addition to wanting to see how it can be implemented on other platforms, we used an example with the MicroPython of a board we named ml4m. Based on this board, TensorFlow Lite is installed on an ESP32 with a 4MB ROM. The board looks like Figure 1.

(Figure. 1 ml4m for testing Tic-Tac-Toe)

[TH] Blender : Low Poly Man

บทความนี้เป็นบันทึกขั้นตอนการขึ้นรูปคนแบบโพลีกอนน้อยด้วยโปรแกรม Blender ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์แบบแจกจ่ายฟรี และเปิดเผยโค้ด ปัจจุบันเป็นรุ่น 2.93.6 LTS โดยเริ่มต้นจากกล่องแล้วตัดฝั่งซ้ายออกไป หลังจากนั้นใช้ Modifier แบบ Mirror เพื่อให้ฝั่งซ้ายและขวาเหมือนกัน ทำให้ปรับแก้เฉกาะฝั่งขวาทำให้งฝั่งซ้ายมีผลตามไปด้วย หลังจากนั้นจัดรูปทรงให้เป็นตามภาพที่ 1

ภาพที่ 1 ขึ้นรูปจากบริเวณลำตัว

[TH] Simple MineSweeper

บทความนี้เป็นการทดลองสร้างเกม Simple MineSweeper ดังภาพที่ 1 ซึ่งใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 กับจอแสดงผล st7735 แบบ REDTAB ขนาด 1.8″ ความละเอียดของการแสดงผลเป็น 128×160 อันเป็นฮาร์ดแวร์เดียวกับเกม Simple Tetris [ตอนที่ 1, ตอนที่ 2 และตอนที่ 3] ที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ โดยยังคงใช้ MicroPython เป็นหลักเช่นเดิม และการอธิบายจะเริ่มเป็นขั้นตอน ๆ ไป จากสร้างหน้าจอ สุ่มค่า การนับค่า การควบคุมการเคลื่อนที่ การเลื่อนกรอบตัวเลือก การปิดไม่ให้เห็นข้อมูล การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการระบุว่าตำแหน่งใดน่าจะเป็นระเบิด การเลือกเปิด และการนับคะแนนเมื่อจบเกม

ตัวเกม Simple MineSweeper เป็นเกมแรก ๆ ที่พวกเราทำเลียนแบบเพื่อศึกษาวิธีคิดและพัฒนาเทคนิคการเขียนโปรแกรมมาตั้งแต่ยุคระบบปฏิบัติการ DOS และ Windows ที่เป็น GUI ของ DOS ซึ่งตอนนั้นเขียนและทำงานบนระบบปฏิบัติการ DOS พร้อมทั้งต้องเปลี่ยนโหมดเป็นกราฟิกส์โหมด ติดต่อกับเมาส์ และสั่งวาดพิกเซลเอง (จะว่าไปแล้วก็เหมือนกันกับการเขียนบนบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 แหละครับ แต่ไม่มีระบบปฏิบัติการให้ใช้) … ว่าแล้วมาทดลองสร้างกันดีกว่าครับ ดูจะรำลึกอดีตกันเนิ่นนานเลยทีเดียว

ภาพที่ 1 เกม simple mineSweeper

[TH] Simple Tetris Ep.3

บทความตอนสุดท้ายของการทำเกมเตตริสแบบง่าย (Simple Tetris) ที่ใช้ MicroPython กับไมโครคอนโทรลเลอร์ esp32 ตามที่ได้เขียนถึงในตอนที่ 1 และ 2 จาก 2 บทความแรกนั้น ผู้อ่านได้เรียนรู้การออกแบบโครงสร้างข้อมูล การวาดวัตถุที่ตกลงมาทั้ง 7 ชนิด และการควบคุมวัตถุให้เคลื่อนที่ไปทางซ้าย ขวา และการหมุน ส่วนในบทความที่ 2 ได้ให้วัตถุตกลงมาจากด้านบนและเก็บสถานะตำแหน่งของวัตถุเอาไว้ และในบทความนี้เป็นการทำให้วัตถุที่ตกลงมานั้นซ้อนกันได้ พร้อมทั้งการเลื่อนซ้าย ขวา และการหมุนวัตถุจะตรวจสอบการชนกับวัตถุเก่าที่เคยตกลงมาก่อน พร้อมทั้งตรวจสอบว่าเมื่อวัตถุตกลงมาจนถึงด้านล่างแล้วนั้นมีแถวใดบ้างที่ไม่มีช่องว่าง ถ้าพบแถวที่ไม่มีช่องว่างจะทำการลบแถวนั้นออกไป และสุดท้ายได้เพิ่มส่วนของการตรวจสอบการสิ้นสุดเกมในกรณีที่ไม่มีที่จะให้วัตถุตกลงมาและเคลื่อนที่ได้อีกดังภาพที่ 1 เป็นอันสิ้นสุดกระบวนการสร้างเกมแบบง่าย ๆ ของเรา

ภาพที่ 1 ตัวอย่างเกมของบทความนี้

[TH] Simple Tetris Ep.2

จากตอนที่แล้วเราได้วาดฉากหลัง การสุ่มวัตถุ การวาดวัตถุ การเลื่อนซ้ายขวา และการหมุนไปแล้ว ในบทความตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนก่อนตอนสุดท้ายของชุดการทำเกม Tetris โดยเนื้อหาเป็นเรื่องของการสร้างฉากหลังเป็นโครงสร้างข้อมูลตาราง ถ้าวัตถุตกลงมาจนถึงล่างสุดจะแปลงวัตถุนั้นให้เป็นข้อมูลหนึ่งของตาราง ดังภาพที่ 1และปรับปรุงเรื่องวิธีการตกลงมาของวัตถุและการควบคุม/แสดงผลวัตถุใหม่ด้วยการใช้ตัวตั้งเวลา โดยยังไม่ตรวจสอบการชนจากการเลื่อนซ้าย/ขวา การตรวจสอบว่าวัตถุตกลงมาซ้อนกับวัตถุก่อนหน้านี้หรือไม่การหมุน และการตัดแถวซึ่งจะกล่าวถึงในบทความตอนสุดท้ายหรือ Simple Tetris Ep.3

ภาพที่ 1 ตัวอย่างเกมของบทความนี้

[TH] Simple Tetris Ep.1

บทความนี้แนะนำการเขียนเกมเตตริส (Tetris) แบบง่าย โดยแสดงผลในตารางขนาด กว้าง 10 ช่อง และสูง 16 ช่อง ตามภาพที่ 1 โดยใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ esp32 ที่ต่อกับจอแสดงผลแบบ ST7735 และสวิตช์สำหรับควบคุมอีก 8 ตัว ที่สำคัญคือ เขียนด้วยภาษาไพธอนผ่าน MicroPython ที่คอมไพล์ให้ใช้ชุดไลบรารี st7735_mpy ซึ่งในบทความนี้กล่าวถึงการจัดเก็บวัตถุทั้ง 7 แบบที่เป็นสิ่งของหรือวัตถุที่ตกลงมาให้รองรับการแสดงผลและการหมุนวัตถุ กับการเลื่อนวัตถุไปทางซ้ายและขวา ส่วนการควบคุมและตรรกะของเกม Tetris จะกล่าวในบทความถัดไป

ภาพที่ 1 ตัวอย่างเกมของบทความนี้

[EN] Arduino: JoyStick Shield

This article is a guideline on using GamePad/Joystick with Arduino Uno or Arduino Mega because it is a module designed as a shield of both boards. When assembled, you will get 1 cute gamepad as shown in Figure 1. The article explains more about the information of the connection between each device and the GPIO with examples of use. The content about the joystick module can be read from the previous article.

(Figure. 1 Joystick Shield)