[TH] ulab v3.0

จากบทความ ulab ก่อนหน้านี้จะพบว่า Micropython สามารถใช้งานคำสั่งเกี่ยวกับการประมวลผลชุดข้อมูลเหมือนกับใช้ใน Numpy ได้ผ่านทางไลบรารี ulab ซึ่งก่อนหน้านี้ทีมผู้เขียนใช้งานรุ่น 0.54.0 ซึ่งเก่ากว่ารุ่นปัจจุบัน คือ 3.0.1 ทำให้เกิดบทความนี้ขึ้นมา โดยบทความกล่าวถึงวิธีการสร้าง Micropython ที่ผนวกไลบรารี ulab เข้าไป และใช้งานกับ esp32 รุ่นที่มี SPIRAM

ภาพที่ 1 รายการโมดูลของ ulab

ulab3

จากภาพที่ 1 จะพบว่า โครงสร้างไลบรารีของ ulab เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้การเขียนโปรแกรมจากตัวอย่างก่อนหน้านี้ต้องมีการปรับเปลี่ยน ซึ่งภายใต้ ulab จะมีไลบรารีของ numpy และ scipy เข้ามา ซึ่งรายละเอียดของ numpy ที่รองรับเป็นดังนี้

[TH] How to finds the nth data from a list?

บทความนี้เรามาทำความเข้าใจและเขียนโปรแกรมเพื่อหาข้อมูลลำดับที่ n จากลิสต์ของข้อมูลด้วยภาษาไพธอน โดยทดสอบกับ Python และ Micropython กัน

[TH] Using ESP32’s ADC and DAC with Micropython.

บทความนี้เป็นการใช้งาน ADC (Analog-to-Digital Converter) และ DAC (Digital-to-Analog Converter) ของไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 ด้วยภาษาไพธอนของ MicroPython ซึ่งเป็นคลาสย่อยชื่อ ADC และ DAC ซึ่งอยู่ภายใต้คลาส machine เพื่อเรียนรู้คลาสย่อยทั้งสอง พร้อมทั้งตัวอย่างโปรแกรมการใช้งานคลาสดังภาพที่ 1 เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการนำไปพัฒนาต่อไป

ภาพที่ 1 ตัวอย่างการใช้ ADC/DAC

[TH] machine.Pin

บทความนี้เป็นการเรียนรู้การใช้งานคลาส Pin ซึ่งเป็นคลาสย่อยในคลาส machine ของ Micropython เพื่อใช้งานกับไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP8266 หรือ ESP32 พร้อมทั้งกล่าวถึงหน้าที่ของขาของชิพทั้ง 2 ที่ควรทราบก่อนใช้งาน

[TH] _thread

บทความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้คลาส _thread กับไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 ซึ่งมีหน่วยประมวลผล 2 แกน (core) แต่อย่างไรก็ดีคลาสเธรดเป็นโมดูลที่เป็นส่วนย่อยจากโมดูล cython และขณะที่เขียนบทความยังไม่สมบูรณ์พร้อมใช้งาน โดยโครงสร้างของคลาสเป็นดังภาพที่ 1 และคลาสย่อย LockType เป็นดังภาพที่ 2

[TH] random

การสุ่มตัวเลขในภาษาไพธอนใช้คลาส random แต่ในระบบไมโครคอนโทรลเลอร์ไม่มีระบบที่สนับสนุนการสุ่มมากเหมือนในระบบคอมพิวเตอร์ทำให้ Micropython รองรับคำสั่งแตกต่างกันไปตามประเภทของชิพ โดยในบทความนี้กล่าวถึงการใช้ random กับไมโครคอนโทรลเลอร์ esp8266 และ esp32 ซึ่งมีคำสั่งให้ใช้งานเพียงสร้างตัวเลขสุ่ม และกำหนดค่า seed ของการสุ่มดังนี้

[TH] machine.RTC

บทความนี้นำรายละเอียดของคลาส machine.RTC ของ Micropython มาเรียนรู้กัน โดยหน้าที่หลักของคลาสนี้คือ ออกแบบมาเพื่อเป็น RTC (Real-Time Clock) หรือนาฬิกาฐานเวลาจริง ภายในไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับเก็บวันที่และเวลาจึงทำให้สะดวกมากขึ้นเมื่อใช้งานร่วมกับชิพ ESP8266 หรือ ESP32 เนื่องจากสามารถเข้าถึง NTP เพื่ออ่านวันที่และเวลาจากอินเทอร์เน็ตหลังจากนั้นนำค่ามาเก็บลง RTC ทำให้มีวันที่และเวลาที่ถูกต้องพร้อมทั้งไม่ต้องเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบ่อย ๆ เพื่ออ่านค่าดังกล่าวอีกครั้ง ซึ่งประหยัดการใช้วงจร RTC ภายนอกอีกด้วย

[TH] esp/esp32 class

บทความนี้เป็นการเรียนรู้การใช้งานคลาส esp และ esp32 ที่เป็นคลาสสำหรับใช้งานเฉพาะกับไมโครคอนโทรลเลอร์ esp8266 และ esp32 เพื่อเข้าถึงคุณลักษณะเฉพาะ และความสามารถภายในของชิพทั้ง 2

[TH] machine.SPI

จากบทความเรื่อง machine.Pin ได้กล่าวถึงการใช้งานขาของไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อนำเข้าข้อมูลและส่งออกข้อมูลไปแล้ว และในบทความการสื่อสารผ่านบัส I2C ซึ่งใช้คลาส machine.I2C เพื่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ ในคราวนี้มารู้จักคลาส machine.SPI ซึ่งเป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับการยอมรับถึงความเร็วในการทำงาน และนิยมใช้กับจอแสดงผลกราฟิก (บทความของ esp8266/esp32) หรือช่องอ่าน SD-Card (บทความของ esp8266, esp32)

[TH] ESP32 machine.Timer

บทความนี้กล่าวถึงการใช้ตัวฮาร์ดแวร์ตั้งเวลาหรือไทม์เมอร์ (Timer) ทั้ง 4 ของ ESP32 เพื่อใช้สำหรับการให้โปรแกรมทำงานเมื่อเป็นตามค่าเวลาที่กำหนดไว้ ความแตกต่างระหว่างการใช้ไทม์เมอร์กับการหน่วงเวลา time.sleep()/time.sleep_ms()/time.sleep_us() คือ การหน่วงเวลาคือการวนรอบเพื่อให้หน่วยประมวลผลเสียเวลาไปการวนรอบเพื่อให้ครบกับระยะเวลาที่กำหนด ขณะที่ไทม์เมอร์ใช้หลักการให้ฟังก์ชันทำงานทุกครั้งเมื่อถึงคาบเวลาที่กำหนดไว้ ดังนั้น ขณะที่ไทม์เมอร์ไม่ได้เรียกฟังก์ชันให้ทำงาน หน่วยประมวลผลมีเวลาเหลือหรือค่าว่างงาน (idle time) สำหรับประมวลผลอื่น ๆ ได้ และมีความแตกต่างกับการขัดจังหวะหรืออินเทอร์รัพต์ตรงที่เป็นการขัดจังหวะด้วยตัวตั้งเวลาแทนการขัดจังหวะจากสถานะของขาที่เชื่อมต่อกับวงจรภายนอก