[TH] Bare Metal Cortex-M Ep.3

จากบทความก่อนหน้านี้ได้ทดลองควบคุมการนำออกสัญญาณดิจิทัลด้วยการขับวงจรแอลอีดีที่เชื่อมต่อกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ STM32 ทั้งแบบ Cortex-M0, Cortex-M3 และ Cortex-M4 ในบทความนี้กล่าวถึงการใช้งานขาเพื่อนำเข้าสัญญาณดิจิทัล และใช้ตัวอย่างการต่อวงจรสวิตช์เพื่อควบคุมการติดหรือดับของหลอดแอลอีดีดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1 ภาพตัวอย่างของการทดลองใน Ep3

[TH] Bare Metal Cortex-M Ep.5

บทความนี้กล่าวถึงการใช้งาน ADC (Analog to Digital Converter) ของ STM32 ที่มีความละเอียด 12 บิต ทำให้สามารถอธิบายค่าแรงดันแอนาล็อกได้ 4096 ระดับ (0 ถึง 4095) ของแรงดัน 0 ถึง 3V3 ซึ่งสามารถปรับระดับความละเอียดให้เป็น 12บิต 10 บิต 8 บิต หรือ 6 บิตได้เพื่อแลกกับความเร็วในการทำงาน โดยใช้ชุดคำสั่ง HAL ที่มากับชุดพัฒนาของ STM32CubeIDE/STM32CubeMX และในการทดลองได้เลือกใช้อุปกรณ์ดังภาพที่ 1 ซึ่งเป็นบอร์ดต้นแบบของ dCoreM0 ของทางทีมงานเรา

ภาพที่ 1 บอร์ดต้นแบบ dCoreM0 สำหรับทดลอง ADC

[TH] Arduino : DHT Sensor

บทความนี้เป็นการอธิบายการใช้งานไลบรารี DHT Sensor ของ Adafruit ที่รองรับกับทุกสถาปัตยกรรมที่ใช้กับ Arduino ได้ ทำให้สามารถประยุกต์การใช้งานเซ็นเซอร์ DHT ซึ่งใช้สำหรับอ่านค่าความชื้นและอุณหภูมิได้สะดวกและกับหลายแพลตฟอร์มได้ง่ายขึ้น โดยบทความนี้ได้ทดสอบกับ ESP32, ESP8266, Arduino UNO และ stm32f103c แล้วพบว่าสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องปรับแก้ไขโค้ดในส่วนของการทำงานหรือต้องเข้าไปแก้ไขรหัสต้นฉบับเพื่อให้ใช้งานได้กับแพลตฟอร์มที่ใช้งาน

ภาพที่ 1 dht22 Sensor กับ BluePill

[TH] Bare Metal Cortex-M Ep.1

บทความนี้เป็นชุดบทความเขียนโปรแกรมที่มุ่งเน้นกับ Cortex-M0 ผ่านทาง STM32F030F4P6 หรือไมโครคอนโทรลเลอร์ STM32 รุ่นอื่น ๆ ในแบบที่ใช้ CMSIS ซึ่งเป็นเฟิร์มแวร์ (firmware) ของ ARM ที่เรียบเรียงจากชุดบทความ Bare Metal : STM32 Programming ของ vivonomicon.com โดยไม่ใช้เฟรมเวิร์กของ Arduino และในบทความตอนที่ 1 เป็นเรื่องของการเตรียมความพร้อม ประกอบด้วยการสร้างไฟล์ลิงค์สำหรับเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ของโค้ดเข้าด้วยกัน และไฟล์ส่วนของการทำงาน หลังจากนั้นนำไฟล์ผลลัพธ์อัพโหลดเข้าไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม

ภาพที่ 1 บอร์ด STM32F030F4P6

[TH] Arduino : RTC DS1302

จากบทความการเขียนโปรแกรมภาษาไพธอนบน Micropython เพื่อใช้งาน RTC เบอร์ DS1302 ในคราวนี้เปลี่ยนภาษาการเขียนโปรแกรมเป็น C++ สำหรับ Arduino โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Cortex-M0 เบอร์ STM32F030F4P6 / esp8266 และ Arduino Mega เป็นตัวทำงานแทน ESP32 ดังภาพที่ 1, 2 และ 6 โดยรายงานการทำงานออกทางพอร์ต RS232 เพื่อแสดงวันและเวลาตามตัวอย่างผลลัพธ์ในภาพที่ 4

ภาพที่ 1 การทดลอง DS1302 กับ STM32F30F4_6

[TH] RTC PCF8583

จากบทความภาษาไพธอนสำหรับใช้งานบอร์ด pcf8583 ที่ทำหน้าที่เป็น RTC (Real-time clock) ทางทีมเราเลยนำโค้ดมาเขียนใหม่เพื่อใช้กับภาษา C++ ของ Arduino โดยทดสอบกับ esp8266, esp32 และ stm32

[TH] Arduino: STM32F030F4P6

บทความนี้เป็นการใช้งานบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ 32 บิตภายใต้สถาปัตยกรรม RISC แบบ Cortex-M0 ที่มีราคาประหยัดแต่การทำงานนับว่าดีกว่าบอร์ดที่เป็นแบบ 8 บิตพอสมควร ประกอบกับมีวิธีการใช้งานให้ศึกษาอยู่บนอินเทอร์เน็ตมากมาย แต่อย่างไรก็ดีทางทีมพวกเราก็สร้างเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่สนใจได้อ่านกัน โดยบทความเริ่มจากเนื้อหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของไมโครคอนโทรลเลอร์ การติดตั้งบอร์ดให้ Arduino IDE รู้จัก และตัวอย่างโปรแกรมการสั่งท็อกเกิ้ลหลอดแอลอีดี การรับส่งข้อมูลผ่านพอร์ตสื่อสาร USART และการทดสอบการหา Prime number เพื่อดูความเร็วในการประมวลผลในแบบการวนรอบซ้ำ ๆ กัน

ภาพที่ 1 บอร์ด STM32F030F4P6