[TH] สร้างและอ่าน QR Code

บทความนี้เป็นแล็บหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาปัญญาประดิษฐ์เพื่อประยุกต์ใช้การสร้าง QR Code จากไลบรารี segno การถอดรหัส QR Code จากไลบนรารี OpenCV การตรวจสอบข้อความว่าเป็น URL หรือไม่ และการเปิดเว็บบราวเซอร์เพื่อเข้าถึง URL ที่ถอดรหัสได้ด้วยไลบรารี webbrowser

[TH] Unity Ep6 เขียนโค้ดเดินหน้า ถอยหลัง และกระโดด

บทความนี้เป็นตัวอย่างการเขียนโค้ด C# เพื่อขยับวัตถุวงกลมในหน้าจอให้เดินหน้า ถอยหลัง และกระโดด ตามลักษณะพื้นฐานของเกมแบบแพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายตัวอย่างที่นำมาใช้ในการสอนวิชาการสื่อสารข้อมูลฯ สำหรับพัฒนาเกมแบบผู้เล่นหลายคน

[TH] Godot: C# Script Ep.1

          เกมเอนจิน Godot มี 2 ระบบ คือ ระบบที่ใช้งาน GDScript ที่มีหลักภาษาคล้ายกับภาษาไพธอนเป็นภาษาสำหรับควบคุมการทำงาน กับระบบที่ใช้ภาษา C# ในการทำงาน โดยขั้นตอนพื้นฐานในการใช้งานจะเป็นดังนี้

                    1. สร้างโครงงานใหม่ด้วยการคลิกเลือก New Project

                    2. กำหนดที่เก้บโครงงาน และตั้งชื่อโครงงาน หลังจากนั้นคลิกที่ Create Folder แล้วคลิกที่ปุ่ม Create&Edit เพื่อเข้าสู่โหมดการแก้ไขโครงงาน

                    3. เลือกการสร้าง Scene เป็น Node2D และบันทึกไฟล์ฉาก (Scene) เอาไว้

                    4. ใน Tab ชื่อ Inspector ให้เลือกสร้างสคริปต์ด้วยการคลิกที่ Script และเลือก New Script

                    5. เลือกภาษาเป็น C# และคลิก Create เพื่อสร้างไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .cs

                    6. โครงสร้างของไฟล์เป็นดังโปรแกรม 1-10 จะพบรายการทรัพยากรดังในภาพที่ 1-4 อันประกอบไปด้วยภาพไอคอนของโปรแกรม ไฟล์ฉากที่สร้างขึ้น (ในภาพตั้งชื่อเป็น MainScene.tscn) และไฟล์ภาษา C# (ชื่อ MainScene.cs)

[TH] พื้นฐาน C#

บทความมนี้กล่าวถึงพื้นฐานการเขียนโปรแกรมภาษา C# ที่นำไปใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชา การพัฒนาเกม และคณิตร์ศาสตร์คอมพิวเตอร์ โดยเริ่มจากเรื่องของจำนวน การดำเนินการกับจำนวน เงื่อนไข การทำซ้ำ โปรแกรมย่อย อันนำไปสู่การประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์เข้ากับเกมหรือนำไปใช้กับการเขียนโปรแกรมด้วย Unity ต่อไป ด้วยเครื่องมือการเขียนโปรแกรมอย่าง Visual Studio, Unity หรือ Godot mono เป็นต้น

[TH] PyTk

บทความนี้กล่าวถึง pytk อันเป็นไลบรารีเชื่อมประสานกับผู้ใช้แบบกราฟิกส์ หรือ GUI (Graphics User Interface) ของภาษาไพธอนที่เรียกใช้ tkinter (TK Interface) ทำให้สามารถเขียนโปรแกรม GUI ที่ทำงานได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Windows, Linux และ macOS โดยการทำงานของ tkinter ของไพธอนเป็นการเชื่อมประสานกับไลบรารี Tcl/Tk อีกชั้นหนึ่ง และบทความนี้ใช้ Thonny เป็น IDE ในการเขียนโปรแกรมตัวอย่าและติดตั้งไลบรารี (อ่านบทความการใช้ Thonny)

การใช้งานจะต้องมีไลบรารี pytk ซึ่งสามารถเขียนโค้ดเพื่อทดสอบการติดตั้งไลบรารีด้วยโค้ดโปรแกรมภาษาไพธอนดังต่อไปนี้

try:
    import tkinter as tk
except ImportError:
    import sys
    print("ไม่พบไลบรารี tkinter!!!")
    sys.exit(0)
print("พร้อมสำหรับ tkinter")

[TH] Thonny 4

Thonny เป็นเครื่องมือประเภทสภาพแวดล้อมแบบบูรณาการ หรือ IDE (Integrated development environment) ที่พัฒนาโดยชาวอสโตเนียชื่อ Aivar Annamaa ในปี ค.ศ. 2015 ภายใต้สิทธิ์การใช้งานแบบเปิดเผยรหัสโปรแกรม (Open Source) แบบ MIT และคุณสมบัติของโปรแกรมนั้นครอบคลุมการเขียนโค้ด ตรวจสอบโค้ด บริหารจัดการไลบรารีของภาษาไพธอน และรันโปรแกรมภาษาไพธอนที่เขียนขึ้นทำให้เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานในส่วนของการเขียนและทดสอบการทำงานที่ใช้งานง่ายเหมาะสมกับผู้เริ่มต้น

          การติดตั้ง Thonny ทำได้โดยดาวน์โหลดไฟล์ชื่อ thonny-xxl-4.1.1.exe จากเว็บไซต์ thonny.org ดังภาพที่ ก-1

ภาพที่ ก-1 หน้าจอเว็บไซต์ thonny.org

[TH] Binary Search Tree

บทความนี้เป็นการเขียนโปรแกรมภาษา C/C++ กับบอร์ด Arduino Nano, Arduino Uno, LGT8F328P [NANO F328P-C] และ ET-BASE AVR EASY32U4 (ภาพที่ 1) หรือบอร์ดอื่น ๆ และแพล็ตฟอร์มอื่น ๆ ที่ใช้ภาษา C เพื่อเรียนรู้การเขียนโปรแกรมจัดการโครงสร้างข้อมูล (Data Structure) อีกประเภทหนึ่งซึ่งมีวิธีการจัดเก็บและจัดการที่แตกต่างกันไปอันมีชื่อว่าต้นไม้แบบ BST หรือ Binary Search Tree ดังในภาพที่ 2 ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สามารถนำไปประยุกต์เกี่ยวกับการเก็บข้อมูลที่มีคุณลักษณะที่ข้อมูลทางกิ่งด้านซ้ายมีค่าที่น้อยกว่าตัวเอง และกิ่งด้านขวามีค่ามากกว่าต้นเอง หรือทำตรงกันข้ามคือกิ่งซ้ายมีค่ามากกว่า และกิ่งด้านขวามีค่าน้อยกว่า ทำให้การค้นหาข้อมูลในกรณีที่ต้นไม้มีความสมดุลย์ทั้งทางซ้ายและทางขวาบนโครงสร้าง BST ประหยัดเวลาหรือจำนวนครั้งในการค้นหาลงรอบละครึ่งหนึ่งของข้อมูลที่มี เช่น มีข้อมูล 100 ชุด ในรอบแรกถ้าตัวเองยังไม่ใช่ข้อมูลที่กำลังค้นหา จะเหลือทางเลือกให้หาจากกิ่งทางซ้ายหรือขวา ซึ่งการเลือกทำให้ข้อมูลของอีกฝั่งนั้นไม่ถูกพิจารณา หรือตัดทิ้งไปครึ่งหนึ่งโดยประมาณ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ Binary Search Tree นั้นขาดความสมดุลย์จะส่งผลให้การค้นหามีความเร็วไม่แตกต่างกับการค้นหาแบบลำดับ (Sequential Search) เท่าใดนัก

ET-BASE AVR EASY32U4
ภาพที่ 1 บอร์ด ET-BASE AVR EASY32U4

[TH] Doubly Linked-List

บทความนี้เป็นการเขียนโปรแกรมภาษา C/C++ กับบอร์ด กับบอร์ด Arduino Nano, Arduino Uno, LGT8F328P [NANO F328P-C] และ ET-BASE AVR EASY32U4 หรือบอร์ดอื่น ๆ และแพล็ตฟอร์มอื่น ๆ ที่ใช้ภาษา C เพื่อจัดเก็บข้อมูลอุณหภูมิ/ความชื้นจากเซ็นเซอร์ DHT11 (ดังภาพที่ 1) ด้วยโครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์คู่ โดยพื้นฐานของการจองหน่วยความจำ การเข้าถึง การยกเลิกการจองหน่วยความจำสามารถอ่านได้จากบทความก่อนหน้านี้ (Singly Linked List)

ภาพที่ 1 บอร์ด Arduino Uno และเซ็นเซอร์ DHT11

[TH] การตั้งค่า Slicer เบื้องต้นสำหรับการพิมพ์ 3 มิติ

บทความนี้เรามาดูกันเกี่ยวกับการตั้งค่า Slicer เพื่อปรับแต่งค่าตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็นต่อการพิมพ์สามมิติให้เหมาะสม โดยใช้ PrusaSlicer ซึ่งค่าทั้งหมดถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน ค่าที่ถูกใช้ในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น

สิ่งที่ต้องเตรียม

  1. PrusaSlicer ดาวโหลดได้ที่นี่

เริ่มต้นให้เราทำการดาวโหลดโปรแกรม PrusaSlicer และติดตั้งให้เรียบร้อย

เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาจะเป็นดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1 PrusaSlicer

[TH] เครื่องพิมพ์ 3 มิติ Ender 3 V2

บทความนี้พูดคุยเกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ Ender 3 V2 ซึ่งเป็นรุ่นปรับปรุงจากรุ่นยอดนิยมของ Creality คือ Ender 3, Ender 3 Pro โดยได้มีการปรับปรุงเรื่องของความง่ายในการประกอบ การใช้งาน คุณภาพของชิ้นงาน เป็นต้น ทำให้เครื่องพิมพ์ 3 มิติรุ่นนี้เหมาะสมสำหรับมือใหม่ที่พึ่งเริ่มใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติเป็นอย่างมาก

รูปร่างหน้าตา

ภาพที่ 1 Ender 3 V2