[TH] RTC PCF8583
จากบทความภาษาไพธอนสำหรับใช้งานบอร์ด pcf8583 ที่ทำหน้าที่เป็น RTC (Real-time clock) ทางทีมเราเลยนำโค้ดมาเขียนใหม่เพื่อใช้กับภาษา C++ ของ Arduino โดยทดสอบกับ esp8266, esp32 และ stm32
จากบทความภาษาไพธอนสำหรับใช้งานบอร์ด pcf8583 ที่ทำหน้าที่เป็น RTC (Real-time clock) ทางทีมเราเลยนำโค้ดมาเขียนใหม่เพื่อใช้กับภาษา C++ ของ Arduino โดยทดสอบกับ esp8266, esp32 และ stm32
บทความนี้แนะนำการใช้ Game Pad/Joystick กับบอร์ด Arduino Uno หรือ Arduino Mega เนื่องจากเป็นโมดูลที่ออกแบบเป็น Shield ของบอร์ดทั้ง 2 เมื่อนำมาประกอบจะได้เกมแพดน่ารัก ๆ 1 ชิ้นดังภาพที่ 1 โดยในบทความอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์แต่ละชิ้นกับ GPIO พร้อมตัวอย่างการใช้งาน ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับโมดูลจอยสติกอ่านได้จากบทความก่อนหน้านี้
บทความนี้เป็นการใช้ภาษาไพธอนของบอร์ด Raspberry Pi ใช้งานไลบรารี OpenGL เพื่อแสดงผลภาพแบบ 3 มิติเป็นกล่องสี่เหลี่ยมหมุนไปทางแกน X,Y และ Z
บทความนี้เป็นตัวอย่างการเปิดหน้าต่างและใช้ปุ่มเพื่อตอบสนอง PyQt5 ซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการใช้คอมโพเนนท์อื่น ๆ ต่อไป โดยจุดเด่นของ Qt คือ เป็นชุดพัฒนาภาษา C++ ที่ข้ามแพล็ตฟอร์มและมีการครอบการเชื่อมผสานเพื่อใช้กับภาษาต่าง ๆ ได้ เช่น PyQt อันเป็น “The python binding for the Qt cross-platform C++ framework” ที่พัฒนาโดย Riverbank Computing Limited ซึ่งปัจจุบันออกรุ่น PyQt 6.1.1 (2021-06-29)
บทความนี้เป็นการใช้งานบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ 32 บิตภายใต้สถาปัตยกรรม RISC แบบ Cortex-M0 ที่มีราคาประหยัดแต่การทำงานนับว่าดีกว่าบอร์ดที่เป็นแบบ 8 บิตพอสมควร ประกอบกับมีวิธีการใช้งานให้ศึกษาอยู่บนอินเทอร์เน็ตมากมาย แต่อย่างไรก็ดีทางทีมพวกเราก็สร้างเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่สนใจได้อ่านกัน โดยบทความเริ่มจากเนื้อหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของไมโครคอนโทรลเลอร์ การติดตั้งบอร์ดให้ Arduino IDE รู้จัก และตัวอย่างโปรแกรมการสั่งท็อกเกิ้ลหลอดแอลอีดี การรับส่งข้อมูลผ่านพอร์ตสื่อสาร USART และการทดสอบการหา Prime number เพื่อดูความเร็วในการประมวลผลในแบบการวนรอบซ้ำ ๆ กัน
บทความนี้เป็นการแนะนำการใช้งานบอร์ด ET-BASE AVR EASU4809 ของบริษัท ETT ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ATMEGA4809 ของบริษัท Microchip ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นบอร์ด Arduino ที่ทำงานด้วยสัญญาณนาฬิกา 20MHz มาพร้อมกับหน่วยความจำ FLASH ROM ขนาด 40KB, EEPROM 256 ไบต์ หน่วยความจำ RAM จำนวน 6KB และมี ADC ความละเอียด10 บิต ซึ่งเรียกได้ว่ามีคุณสมบัติที่สูงกว่า ATmega 368P ที่ใช้กับ Arduino Uno หรือ Arduino Nano อย่างมาก แต่บอร์ดที่เลือกมาใช้ในครั้งนี้ยังมีคุณสมบัติที่มากกว่าบอร์ด Arduino พื้นฐานอีกหลายด้าน ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าไปอ่านได้จากหน้าเว็บของบอร์ดเพิ่มเติม
บทความนี้ต่อเนื่องจากการติดตั้ง ESP-IDF เพื่อทดลองเขียนโค้ด คอมไพล์ และอัพโหลดเข้าบอร์ด ESP32 เพื่อให้ใจขั้นตอนของการพัฒนาโปรแกรมภาษา C ของบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32
บทความนี้กล่าวถึงการใช้ Arduino กับไมโครคอนโทรลเลอร์ LGT8F328P ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ที่มีความคล้ายกับ Atmel AVR atmega328P ที่ใช้กับบอร์ด Arduino Uno และตระกูล Arduino Nano แต่มีความสามารถที่เพิ่มขึ้น เช่น ความเร็วในการทำงานที่สูงขึ้น และมีความละเอียดในการแปลงสัญญาณแอนาล็อกที่มากขึ้นพร้อมทั้งมีภาคแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นแอนาล็อกมาให้ด้วย ดังนั้น บทความนี้จึงไล่เรียงตั้งแต่คุณสมบัติ การติดตั้งบอร์ด และตัวอย่างการใช้งานคุณสมบัติของไมโครคอนโทรลเลอร์ตัวนี้
บทความนี้อธิบายหลักการทำการขัดจังหวะหรืออินเทอร์รัพต์ (Interrupt) และการดักการเกิดการขัดจังหวะด้วย MicroPython โดยทดลองกับ ESP8266 และ ESP32 เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนโปรแกรมตอบสนองการเกิดเหตุการณ์จากภายนอกโดยไม่ต้องรอให้งานที่ทำอยู่นั้นทำเสร็จก่อน
บทความนี้เป็นการอธิบายการใช้งานเซ็นเซอร์เข็มทิศดิจิทัลรุ่น GY-271 ด้วยภาษาไพธอนของ MicroPython เพื่อใช้งานกับ ESP8266 หรือ ESP32 (และได้ทดลองกับ STM32F411CEU6 กับ Raspberry Pi 3B+ และ 4B แล้วสามารถใช้งานได้เหมือนกัน) เพื่อตั้งค่าการทำงานและอ่านค่าแกน X,Y และ Z จากเซ็นเซอร์ หลังจากนั้นนำมาคำนวณเป็นค่าองศาของทิศเหนือ