[TH] ESP8266+ST7735s TFT LCD 0.96″ 80×160 RGB565

จากบทความ ST7735S 0.96″ 80×160 TFT LCD ได้กล่าวถึงคุณลักษณะและหน้าที่ของขาเชื่อมต่อพร้อมตัวอย่างการเชื่อมต่อกับ TTGO T8 ESP32 ไปเรียบร้อยแล้ว ในบทความนี้เป็นตัวอย่างการนำโมดูลแสดงผลมาใช้งานกับ ESP8266 ซึ่งมีขีดจำกัดในเรื่องของปริมาณหน่วยความจำที่น้อยกว่า ESP32 จึงต้องแก้ปัญหาด้วยการคอมไพล์ไลบรารีให้เป็นไบต์โค้ดนามสกุล mpy

ภาพที่ 1

[TH] ST7735s 0.96″ 80×160 TFT LCD

บทความนี้แนะนำ TFT LCD แบบ IPS ขนาด 0.96″ ที่มีความละเอียด 80×160 จุด ให้สี RGB565 หรือ 16 บิต โดยควบคุมการทำงานของโมดูล LCD ด้วยชิพ ST7735s ผ่านทางบัส SPI โดยตัวอย่างการใช้งานใช้กับ TTGO T8 ESP32 ที่เรียกใช้ไลบรารี ST7735 ด้วยภาษาไพธอน

ภาพที่ 1

[TH] ESP8266 MicroSD-Card Reader (Adapter)

บทความนี้เป็นตัวอย่างการใช้โมดูลอ่าน/เขียนการ์ดประเภท SD-Card เพื่อเก็บข้อมูลและอ่านข้อมูลในรูปแบบ JSON ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับผู้อ่านบทความสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานต่อไปในอนาคต

ภาพที่ 1

[TH] ESP8266 Control Relay

บทความนี้เป็นตัวอย่างการเขียนโปรแกรมภาษาไพธอนเพื่อขับโมดูรีเลย์เพื่อเปิด/ปิดหลอดแอลอีดีให้สว่างหรือดับผ่านการสั่งงาน WiFi ในโหมด AP ของ ESP8266

ภาพที่ 1

[TH]Review TTGO T8 ESP32

TTGO T8 ESP32 เป็นบอร์ดที่ใช้ ESP32 เป็นตัวขับเคลื่อนการทำงาน รองรับการเขียนโปรแกรมทั้ง ESP-IDF, Arduino และ MicroPython นอกจากนี้จุดเด่นของบอร์ดรุ่นนี้อยู่ที่ มีหน่วยความจำแรมภายนอกให้ใช้งาน 4MB มีช่องอ่าน TF Card ทำให้สามารถอ่าน/เขียน SD Card ได้ มีสวิตช์สำหรับเปิดปิดการทำงานของบอร์ด ปุ่มรีเซ็ต เสาอากาศแบบ 3 มิติ ช่องเสียบสายอากาศภายนอก และวงจรชาร์จ/ใช้งานแบตเตอรีแบบรีชาร์จ

[TH] ESP8266 time Library

บทความนี้เป็นบทความที่เรียบเรียงข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานไลบรารี time ซึ่งเกี่ยวข้องกับการหน่วงเวลาของ ESP8266 พร้อมตัวอย่างการเชื่อมต่อกับ NTP Server เพื่อทำการซิงค์ เวลาให้ตรงกัน

ภาพที่ 1 ตัวอย่างผลลัพธ์ของโปรแกรม code5-1

[TH] ESP8266+Soil Moisture Sensor

บทความนี้เป็นการนำ ESP8266 มาใช้อ่านค่าจากเซ็นเซอร์ความชื้นของดิน ซึ่งหน้าตาของเซ็นเซอร์ที่เลือกใช้เป็นดังภาพที่ 1 โดยวงจรของการทำงานตามภาพที่ 2 จะมีส่วนของการแปลงความต้านทานจากการไหลของกระแสไฟเป็นค่าแบบแอนาล็อกและดิจิทัล ซึ่งในภาคของดิจิทัลนั้นต้องทำการหมุนเพื่อปรับค่าความต้านทานจากตัวต้านทานปรับค่าได้ หลังจากนั้นค่าแรงดันที่ได้จากการปรับค่าความต้านทานจะถูกใช้เป็นตัวเปรียบเทียบแรงดันที่ได้รับจากวงจรเซ็นเซอร์ และนำออกข้อมูลเป็นสัญญาณดิจิทัลเป็นค่า 0 หรือ 1 แต่ในบทความนี้เลือกใช้การอ่านค่าจากสัญญาณแอนาล็อกผ่านเข้าทางขา A0 ซึ่งเป็นภาคแปลงสัญญาณแอนาล็อกเป็นดิจิทัล (ADC: Analog to Digital Converter) ขนาด 10 บิต ทำให้อ่านค่าแรงดันที่ได้รับเป็นค่าจำนวนเต็มในช่วง 0 ถึง 1024 โดยตัวอย่างโปรแกรมเขียนด้วยภาษาไพธอน พร้อมแสดงค่าที่แปลงจาก ADC แสดงผ่านเว็บ

[TH] How to make “ESP8266” read and write to “Arduino UNO Maker” via the I2C bus?

(วิธีการทำให้ “ESP8266” อ่านและเขียนไปยัง “Arduino UNO Maker” ผ่านบัส I2C.)

ESP8266 เป็นอุปกรณ์ที่รองรับการทำงานแบบ IoT ได้เป็นอย่างดี แต่ข้อเสียประการหนึ่งของ ESP8266 คือ จำนวน GPIO หรือขาสำหรับนำเข้าสัญญาณและนำออกสัญญาณที่สามารถใช้งานได้โดยไม่เป็นปัญหากับการทำงานของบอร์ดมีไม่มากนัก ดังนั้น การขยายพอร์ตให้กับ ESP8266 จึงเป็นสิ่งที่นักพัฒนาต้องประสบพบเจอ ซึ่งสามารถเลือกดำเนินการได้หลายวิธี เช่น ใช้ PCF8574 เป็นพอร์ตขยายผ่านทางบัส I2C หรือเชื่อมต่อกับ Arduino ผ่านทางพอร์ตสื่อสารอนุกรม (Serial Port) เพื่อให้ Arduino เป็นผู้ทำงานและส่งผลลัพธ์กลับมาทางพอร์ตสื่อสารอนุกรม เป็นต้น โดยในบทความนี้เลือกการใช้ Arduino Uno เป็นบอร์ดสำหรับเป็น I/O ให้กับ ESP8266 โดยอาศัยการสั่งงานผ่านทางบัส I2C

[TH] How to flash the MicroPython firmware to WeMos D1 Pro Mini

WeMos D1 Pro Mini เป็นบอร์ด ESP8266 ที่มีหน่วยความจำ Flash ROM ให้ใช้งาน 16MB ซึ่งมีประโยชน์การนำข้อมูลภาพหรือข้อมูลที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจัดเก็บไว้ใน Flash ROM และนำมาใช้งาน แต่อย่างไรก็ดี การเขียน Firmware MicroPython ลงบนบอร์ดนี้จะมีขั้นตอนที่ต้องทำเพิ่มจากการเขียนกับบอร์ดรุ่น 4MB (วิธีการของบอร์ด WeMos D1 R1 mini หรือ ESP8266 สามารถดูได้จากคลิปนี้ครับ … gogogo …) ในบทความนี้เราจะทดลองเขียน ROM และเขียนโปรแกรมเพื่อแสดงข้อมูลของบอร์ดกันครับ

ภาพที่ 1 บอร์ด WeMos D1 Pro mini ที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว