[TH] How to used RPi 3.5″ TFT LCD&Touch Shield with esp32?

เหตุเกิดจากทางทีมงานเราได้ซื้อจอแสดงผลขนาด 3.5″ สำหรับบอร์ด Raspberry Pi มาใช้งาน แล้วเกิดคำถามว่าถ้านำมาใช้กับบอร์ด ESP32 จะสามารถทำได้หรือไม่ ด้วยเหตุนี้ บทความนี้กล่าวถึงวิธีการใช้งานบอร์ดแสดงผล TFT LCD Shield ที่ออกแบบมาใช้กับ Raspberry Pi ของบริษัท Waveshare มาใช้กับไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 รุ่น TTGO T8 ผ่านทางไลบรารี TFT_eSPI เพื่อแสดงผล และใช้งานระบบหน้าจอสัมผัส (Touch Screen) ดังตัวอย่างภาพที่ 1

ภาพที่ 1 ตัวอย่างผลลัพธ์เมื่อนำมาใช้ ESP32

Raspberry Pi 3.5″ TFT LCD Shield Touch Screen

จอแสดงผล Raspberry Pi 3.5″ TFT LCD Shield Touch Screen เป็นจอแสดงผลประเภท TFT ขนาด 3.5″ พร้อมระบบจอสัมผัสที่ออกแบบเพื่อใช้กับบอร์ด Raspberry Pi ดังภาพที่ 2 ซึ่งผลิตโดยบริษัท Waveshare

ภาพที่ 2 โมดูล 3.5inch RPi LCD (A)

คุณสมบัติ

คุณสมบัติของโมดูลแสดงผลมีดังนี้

  • ความละเอียดในการแสดงผล 480×320 จุด
  • ใช้การเชื่อมต่อผ่านบัส SPI
  • โมดูลควบคุมส่วนแสดงผลเป็น ILI9486 (ILI9486 Driver)
  • ระบบควบคุมการสัมผัสเป็นแบบ Resistive
  • รองรับการใช้กับบอร์ด Raspberry Pi ด้วยการเสียบบนบอร์ดโดยตรง
  • ไดรเวอร์ใช้ได้กับ Raspbian, Ubuntu และ Kali Linux
  • โมดูลควบคุมระบบจอสัมผัสใช้ XPT2046
  • แสดงสีแบบ 16 บิต หรือ 65,535 สี
  • อัตราส่วนการแสดงผล 8:5

การตั้งค่า TFT_eSPI

การเชื่อมต่อระหว่างขาของโมดูล LCD กับ ESP32 เป็นดังนี้

RPi 3.5″ TFT&TouchESP32
5V5V
GNDGND
LCD_RS (ขา 18)gpio15
LCD_SI/TP_SI (ขา 19)gpio12
TP_SO (ขา 21)gpio2
RST (ขา 22)gpio13
LCD_SCK/TP_SCK (ขา 23)gpio14
LCD_CS (ขา 24)gpio5
TFT_CS (ขา 26)gpio18

การตั้งค่าในไฟล์ส่วนหัวของ TFT_eSPI เป็นดังนี้

#define RPI_DISPLAY_TYPE
#define ILI9486_DRIVER

#define TOUCH_CS 18

#define TFT_MISO 2 
#define TFT_MOSI 12
#define TFT_SCLK 14
#define TFT_CS   5 
#define TFT_DC   15
#define TFT_RST  13

#define LOAD_GLCD
#define LOAD_FONT2
#define LOAD_FONT4
#define LOAD_FONT6
#define LOAD_FONT7
#define LOAD_FONT8
#define LOAD_GFXFF

#define SMOOTH_FONT

#define SPI_FREQUENCY  26000000 

#define SPI_TOUCH_FREQUENCY  2500000

ตัวอย่างโปรแกรม

ตัวอย่างโปรแกรมทดสอบการแสดงผลและรับค่าของ TFT_eSPI ชื่อ Keypad_480x320 มีโค้ดดังนี้ และตัวอย่างหน้าจอผลลัพธ์ได้ดังภาพที่ 3

โค้ดโปรแกรม

/*
  The TFT_eSPI library incorporates an Adafruit_GFX compatible
  button handling class, this sketch is based on the Arduin-o-phone
  example.

  This example diplays a keypad where numbers can be entered and
  send to the Serial Monitor window.

  The sketch has been tested on the ESP8266 (which supports SPIFFS)

  The minimum screen size is 320 x 240 as that is the keypad size.

  TOUCH_CS and SPI_TOUCH_FREQUENCY must be defined in the User_Setup.h file
  for the touch functions to do anything.
*/

// The SPIFFS (FLASH filing system) is used to hold touch screen
// calibration data

#include "FS.h"

#include <SPI.h>
#include <TFT_eSPI.h>      // Hardware-specific library

TFT_eSPI tft = TFT_eSPI(); // Invoke custom library

// This is the file name used to store the calibration data
// You can change this to create new calibration files.
// The SPIFFS file name must start with "/".
#define CALIBRATION_FILE "/TouchCalData2"

// Set REPEAT_CAL to true instead of false to run calibration
// again, otherwise it will only be done once.
// Repeat calibration if you change the screen rotation.
#define REPEAT_CAL false

// Keypad start position, key sizes and spacing
#define KEY_X 40 // Centre of key
#define KEY_Y 96
#define KEY_W 62 // Width and height
#define KEY_H 30
#define KEY_SPACING_X 18 // X and Y gap
#define KEY_SPACING_Y 20
#define KEY_TEXTSIZE 1   // Font size multiplier

// Using two fonts since numbers are nice when bold
#define LABEL1_FONT &FreeSansOblique12pt7b // Key label font 1
#define LABEL2_FONT &FreeSansBold12pt7b    // Key label font 2

// Numeric display box size and location
#define DISP_X 1
#define DISP_Y 10
#define DISP_W 238
#define DISP_H 50
#define DISP_TSIZE 3
#define DISP_TCOLOR TFT_CYAN

// Number length, buffer for storing it and character index
#define NUM_LEN 12
char numberBuffer[NUM_LEN + 1] = "";
uint8_t numberIndex = 0;

// We have a status line for messages
#define STATUS_X 120 // Centred on this
#define STATUS_Y 65

// Create 15 keys for the keypad
char keyLabel[15][5] = {"New", "Del", "Send", "1", "2", "3", "4", "5", "6", "7", "8", "9", ".", "0", "#" };
uint16_t keyColor[15] = {TFT_RED, TFT_DARKGREY, TFT_DARKGREEN,
                         TFT_BLUE, TFT_BLUE, TFT_BLUE,
                         TFT_BLUE, TFT_BLUE, TFT_BLUE,
                         TFT_BLUE, TFT_BLUE, TFT_BLUE,
                         TFT_BLUE, TFT_BLUE, TFT_BLUE
                        };

// Invoke the TFT_eSPI button class and create all the button objects
TFT_eSPI_Button key[15];

//------------------------------------------------------------------------------------------

void setup() {
  // Use serial port
  Serial.begin(9600);

  // Initialise the TFT screen
  tft.init();

  // Set the rotation before we calibrate
  tft.setRotation(1);

  // Calibrate the touch screen and retrieve the scaling factors
  touch_calibrate();

  // Clear the screen
  tft.fillScreen(TFT_BLACK);

  // Draw keypad background
  tft.fillRect(0, 0, 240, 320, TFT_DARKGREY);

  // Draw number display area and frame
  tft.fillRect(DISP_X, DISP_Y, DISP_W, DISP_H, TFT_BLACK);
  tft.drawRect(DISP_X, DISP_Y, DISP_W, DISP_H, TFT_WHITE);

  // Draw keypad
  drawKeypad();
}

//------------------------------------------------------------------------------------------

void loop(void) {
  uint16_t t_x = 0, t_y = 0; // To store the touch coordinates

  // Pressed will be set true is there is a valid touch on the screen
  bool pressed = tft.getTouch(&t_x, &t_y);

  // / Check if any key coordinate boxes contain the touch coordinates
  for (uint8_t b = 0; b < 15; b++) {
    if (pressed && key[b].contains(t_x, t_y)) {
      key[b].press(true);  // tell the button it is pressed
    } else {
      key[b].press(false);  // tell the button it is NOT pressed
    }
  }

  // Check if any key has changed state
  for (uint8_t b = 0; b < 15; b++) {

    if (b < 3) tft.setFreeFont(LABEL1_FONT);
    else tft.setFreeFont(LABEL2_FONT);

    if (key[b].justReleased()) key[b].drawButton();     // draw normal

    if (key[b].justPressed()) {
      key[b].drawButton(true);  // draw invert

      // if a numberpad button, append the relevant # to the numberBuffer
      if (b >= 3) {
        if (numberIndex < NUM_LEN) {
          numberBuffer[numberIndex] = keyLabel[b][0];
          numberIndex++;
          numberBuffer[numberIndex] = 0; // zero terminate
        }
        status(""); // Clear the old status
      }

      // Del button, so delete last char
      if (b == 1) {
        numberBuffer[numberIndex] = 0;
        if (numberIndex > 0) {
          numberIndex--;
          numberBuffer[numberIndex] = 0;//' ';
        }
        status(""); // Clear the old status
      }

      if (b == 2) {
        status("Sent value to serial port");
        Serial.println(numberBuffer);
      }
      // we dont really check that the text field makes sense
      // just try to call
      if (b == 0) {
        status("Value cleared");
        numberIndex = 0; // Reset index to 0
        numberBuffer[numberIndex] = 0; // Place null in buffer
      }

      // Update the number display field
      tft.setTextDatum(TL_DATUM);        // Use top left corner as text coord datum
      tft.setFreeFont(&FreeSans18pt7b);  // Choose a nicefont that fits box
      tft.setTextColor(DISP_TCOLOR);     // Set the font colour

      // Draw the string, the value returned is the width in pixels
      int xwidth = tft.drawString(numberBuffer, DISP_X + 4, DISP_Y + 12);

      // Now cover up the rest of the line up by drawing a black rectangle.  No flicker this way
      // but it will not work with italic or oblique fonts due to character overlap.
      tft.fillRect(DISP_X + 4 + xwidth, DISP_Y + 1, DISP_W - xwidth - 5, DISP_H - 2, TFT_BLACK);

      delay(10); // UI debouncing
    }
  }
}

//------------------------------------------------------------------------------------------

void drawKeypad()
{
  // Draw the keys
  for (uint8_t row = 0; row < 5; row++) {
    for (uint8_t col = 0; col < 3; col++) {
      uint8_t b = col + row * 3;

      if (b < 3) tft.setFreeFont(LABEL1_FONT);
      else tft.setFreeFont(LABEL2_FONT);

      key[b].initButton(&tft, KEY_X + col * (KEY_W + KEY_SPACING_X),
                        KEY_Y + row * (KEY_H + KEY_SPACING_Y), // x, y, w, h, outline, fill, text
                        KEY_W, KEY_H, TFT_WHITE, keyColor[b], TFT_WHITE,
                        keyLabel[b], KEY_TEXTSIZE);
      key[b].drawButton();
    }
  }
}

//------------------------------------------------------------------------------------------

void touch_calibrate()
{
  uint16_t calData[5];
  uint8_t calDataOK = 0;

  // check file system exists
  if (!SPIFFS.begin()) {
    Serial.println("Formating file system");
    SPIFFS.format();
    SPIFFS.begin();
  }

  // check if calibration file exists and size is correct
  if (SPIFFS.exists(CALIBRATION_FILE)) {
    if (REPEAT_CAL)
    {
      // Delete if we want to re-calibrate
      SPIFFS.remove(CALIBRATION_FILE);
    }
    else
    {
      File f = SPIFFS.open(CALIBRATION_FILE, "r");
      if (f) {
        if (f.readBytes((char *)calData, 14) == 14)
          calDataOK = 1;
        f.close();
      }
    }
  }

  if (calDataOK && !REPEAT_CAL) {
    // calibration data valid
    tft.setTouch(calData);
  } else {
    // data not valid so recalibrate
    tft.fillScreen(TFT_BLACK);
    tft.setCursor(20, 0);
    tft.setTextFont(2);
    tft.setTextSize(1);
    tft.setTextColor(TFT_WHITE, TFT_BLACK);

    tft.println("Touch corners as indicated");

    tft.setTextFont(1);
    tft.println();

    if (REPEAT_CAL) {
      tft.setTextColor(TFT_RED, TFT_BLACK);
      tft.println("Set REPEAT_CAL to false to stop this running again!");
    }

    tft.calibrateTouch(calData, TFT_MAGENTA, TFT_BLACK, 15);

    tft.setTextColor(TFT_GREEN, TFT_BLACK);
    tft.println("Calibration complete!");

    // store data
    File f = SPIFFS.open(CALIBRATION_FILE, "w");
    if (f) {
      f.write((const unsigned char *)calData, 14);
      f.close();
    }
  }
}

//------------------------------------------------------------------------------------------

// Print something in the mini status bar
void status(const char *msg) {
  tft.setTextPadding(240);
  //tft.setCursor(STATUS_X, STATUS_Y);
  tft.setTextColor(TFT_WHITE, TFT_DARKGREY);
  tft.setTextFont(0);
  tft.setTextDatum(TC_DATUM);
  tft.setTextSize(1);
  tft.drawString(msg, STATUS_X, STATUS_Y);
}

//------------------------------------------------------------------------------------------

คำอธิบาย

จากโค้ดตัวอย่างจะมี 3 ส่วนหลัก คือ

  1. ส่วนของการตั้งค่าระบบจอสัมผัสผ่านทางฟังก์ชัน touch_calibrate() ที่ตรวจสอบว่า ได้มีการปรับค่ามาก่อนหรือไม่ด้วยการค้นหาไฟล์ CALIBRATION_FILE ในหน่วยความจำแฟลชผ่านทาง SPIFFS ถ้ายังไม่มี หรือต้องการทำใหม่จะเรียกการตั้งค่าจอสัมผัสผ่านทาง tft.calibrateTouch() ส่วนคำสั่งสำหรับการนำค่าที่ตั้งค่าไว้ไปใช้งานคือ tft.setTouch()
  2. ส่วนแสดงหน้าจอ
    1. แสดงแป้นด้วยการเรียกฟังก์ชันชื่อ drawKaypad() โดยแต่ละปุ่มใช้คลาส TFT_eSPI_Button ซึ่งเป็นคลาส UI (User Interface) ของ TFT_eSPI เพื่อแสดงปุ่มดังต่อไปนี้
      1. ปุ่ม New ในแถวแรก
      2. ปุ่ม Del ในแถวแรก
      3. ปุ่ม Send ในแถวแรก
      4. ปุ่ม 1 ในแถวที่ 2
      5. ปุ่ม 2 ในแถวที่ 2
      6. ปุ่ม 3 ในแถวที่ 2
      7. ปุ่ม 4 ในแถวที่ 3
      8. ปุ่ม 5 ในแถวที่ 3
      9. ปุ่ม 6 ในแถวที่ 3
      10. ปุ่ม 7 ในแถวที่ 4
      11. ปุ่ม 8 ในแถวที่ 4
      12. ปุ่ม 9 ในแถวที่ 4
      13. ปุ่ม . ในแถวล่างสุด
      14. ปุ่ม 0 ในแถวล่างสุด
      15. ปุ่ม # ในแถวล่างสุด
    2. ส่วนแสดงข้อความ
    3. ส่วน status อยู่ต่อจากส่วนแสดงข้อความ
  3. ส่วนรับค่าจากส่วนจอสัมผัสและทำงาน
    1. อ่านค่าตำแหน่ง (x,y) จาก tft.getTouch()
    2. ถ้ากดถูกปุ่มตัวเลขจะนำตัวเลขไปแสดงผลในส่วนของข้อความด้านบน
    3. ถ้ากดปุ่ม New จะทำการล้างค่าส่วนของข้อความ
    4. ถ้ากด Del จะลบตัวเลขสุดท้ายที่กดออกจากส่วนของข้อความ
    5. ถ้ากด Send จะนำข้อมูลส่วนของข้อความที่กดไว้นั้นส่งไปยังพอร์ตสื่อสารอนุกรม
    6. ลดการเกิด bounce จากการสัมผัสด้วยการหน่วงเวลา 10 มิลลิวินาที
    7. การแสดงผลข้อความนั้นใช้การตั้งค่าต่อไปนี้
      1. กำหนด Datum เป็น TL_DATUM เป็นการแสดงข้อความจากซ้ายไปขวา
      2. เลือกใช้ฟอนต์แบบ FreeSans18pt7b
      3. สีตัวอักษรตามที่กำหนดในค่าคงที่ DISP_TCOLOR
      4. วาดข้อมูลผ่านทางฟังก์ชัน drawString() ด้วยการส่งค่าที่เก็บในตัวแปร numberBuffer
ภาพที่ 3 ตัวอย่างผลลัพธ์จาก Kaypad_480x320

สรุป

จากการนำโมดูลแสดงผลของ Raspberry Pi มาใช้กับไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 ทางเราพบว่า สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่มีปัญหาและสามารถทำงานได้ทั้งส่วนแสดงผลและจอสัมผัส แต่การที่ในเอกสารไม่ได้ระบุตัวไดรเวอร์ของส่วนแสดงผลทำให้ทางทีมงานต้องแกะโค้ดของ LCD_Show และทดลองเปลี่ยนไดรเวอร์ที่ใช้ได้กับจอแสดงผลของ RPi จนพบว่าไดรเวอร์ที่ทำงานได้คือ ili9486 จากเหตุการณ์นี้จะพบว่า การเขียนโปรแกรมโดยไม่รู้จักกับอุปกรณ์ที่ใช้งานนั้นจะทำให้ไม่สามารถสั่งงานอุปกรณ์ได้ และยิ่งเข้าใจการทำงานของอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่ใช้งานด้วยการอ่านเอกสารประกอบยิ่งทำให้สามารถเขียนโค้ดที่มีประสิทธิภาำได้มากขึ้น สุดท้ายนี้ ขอให้สนุกกับการเขียนโปรแกรมครับ

ท่านใดต้องการพดคุยสามารถคอมเมนท์ได้เลยครับ

(C) 2020-2021, โดย อ.ดนัย เจษฎาฐิติกุล/อ.จารุต บุศราทิจ
ปรับปรุงเมื่อ 2021-10-04, 2021-12-19