บทความนี้เป็นเรื่องของการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC ในตระกูล 8 บิต รุ่น PIC18F458 และ PIC16F877 อันเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ประเภท RISC เหมือนกับไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล AVR และทางเราได้มีผลงานหนังสือเกี่ยวกับ PIC โดยใช้ภาษา BASIC (หรือสั่งซื้อจาก Shoppee) แต่ในบทความนี้จะเป็นภาษา C และบอร์ดที่ใช้เป็นดังภาพที่ 1 และ 2 แต่สำหรับในห้องปฏิบัติการของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เลือกใช้บอร์ดสำหรับเรียนรู้ในรายวิชาสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ดังภาพที่ 2 พร้อมใช้ชุดโปรแกรมชิพดังภาพที่ 3 โดยบทความตอนที่ 1 (บอร์ด CP-PIC V3/458 หรือ CP-PIC V3/877) นี้เป็นการแนะนำคุณสมบัติของไมโครคอนโทรลเลอร์และรูปร่างหน้าตาของบอร์ดทดลองในห้องปฏิบัติการ สำหรับการใช้งานส่วนต่าง ๆ ของ PIC จะกล่าวถึงในบทความตอนถัดไป
การต่อใช้งานเครื่องโปรแกรมชิพในภาพที่ 3 ต้องเชื่อมต่อกับสายเข้ากับบอร์ดทดลองในภาพที่ 2 ดังตัวอน่างการเชื่อมต่อในภาพที่ 4
คุณสมบัติของไมโครคอนโทรลเลอร์
PIC เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ของบริษัท Microchip ที่มีหลากหลายแบบตั้งแต่แกนที่เป็น PIC แบบ 8, 16 และ 32 บิต แต่เพื่อความสะดวกในการเรียนรู้จึงเลือกใช้สถาปัตยกรรมแบบ 8 บิต ผ่านทางชิพรุ่น PIC18F458 หรือ PIC16F877 ซี่งแต่ละตัวมีคุณสมบัติดังนี้
PIC18F458
- ทำงานได้ด้วยความถี่สัญญาณนาฬิกาสูงสุด 40 MHz
- ขนาดหน่วยความจำ Flash ROM เป็น 32K
- หน่วยความจำ RAM ขนาด 1536 ไบต์
- มีหน่วยความจำ EEPROM ขนาด 256 ไบต์
- รองรับ ADC ขนาด 10 บิต
- ทำ Current Sink ได้ 25mA
- ทำ Current Source ได้ 25mA
PIC16F877
- ทำงานได้ด้วยความถี่สัญญาณนาฬิกาสูงสุด 10 MHz
- ขนาดหน่วยความจำ Flash ROM เป็น 8K
- หน่วยความจำ RAM ขนาด 368ไบต์
- มีหน่วยความจำ EEPROM ขนาด 256 ไบต์
- รองรับ ADC ขนาด 10 บิต
- ทำ Current Sink ได้ 25mA
- ทำ Current Source ได้ 25mA
ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมภาษา C คือ MPLAB X IDE ที่ติดตั้ง XC8 ดังภาพที่ 5 และซอฟต์แวร์สำหรับโปรแกรมชิพซึ่งใช้กับบอร์ดโปรแกรมชิพในภาพที่ 4 คือ โปรแกรม PICkit2 ของบริษัท Microchip ดังภาพที่ 6
สรุป
จากบทความนี้ผู้อ่านได้เรียนรู้เรื่องคุณสมบัติของไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC18F485 และ PIC16F877 เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาสถาปัตยกรรมการทำงานของระบบไมโครคอนโทรลเลอร์ด้วยภาษา C ต่อไปในบทความหน้า สุดท้ายนี้ขอให้สนุกกับการเรียนรู้และฝึกปรือการเขียนโปรแกรมกันครับ
(C) 2022, โดย อ.อนุชาติ บุญมาก, อ.ดนัย เจษฎาฐิติกุล/อ.จารุต บุศราทิจ
ปรับปรุงเมื่อ 2022-01-21, 2022-03-02