[TH] เครื่องพิมพ์ 3 มิติ Ender 3 V2

บทความนี้พูดคุยเกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ Ender 3 V2 ซึ่งเป็นรุ่นปรับปรุงจากรุ่นยอดนิยมของ Creality คือ Ender 3, Ender 3 Pro โดยได้มีการปรับปรุงเรื่องของความง่ายในการประกอบ การใช้งาน คุณภาพของชิ้นงาน เป็นต้น ทำให้เครื่องพิมพ์ 3 มิติรุ่นนี้เหมาะสมสำหรับมือใหม่ที่พึ่งเริ่มใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติเป็นอย่างมาก

รูปร่างหน้าตา

ภาพที่ 1 Ender 3 V2

ในรุ่นนี้มีโครงร่างเหมือนกับเครื่องพิมพ์ FDM ส่วนใหญ่ ตัวโครงเป็นโลหะเคลือบสีดำมีลักษณะเป็นร่อง โดยมีตัวฐานซึ่งคุมการพิมพ์ในแกน Y (ภาพที่ 2) เป็นตัวยึดแกนแนวตั้งทั้ง 2 แกนยึดกับแกนแนวนอนที่ใช้เป็นแกน X (ภาพที่ 3) ส่วนแกน Z นั้นจะถูกยึดกับฐานโดยมีเสาเป็นตัวขับเคลื่อนตำแหน่งของแกน ดังภาพที่ 4

ภาพที่ 2 แกน Y
ภาพที่ 3 แกน X
ภาพที่ 4 แกน Z

เครื่องพิมพ์รุ่นนี้เป็นแบบ Bowden tube ซึ่งมีสายในการส่งเส้นไปยังหัวละลายเส้น โดยมีมอเตอร์ตัวขับเส้นอยู่ในเสาร์แกน X ผ่านชุดหัวพิมพ์ (ภาพที่ 5) มีหน้าจอควบคุมการเลือกเมนูด้วยการหมุน (ภาพที่ 6) มีที่เก็บม้วน filament อยู่ด้านบน (ภาพที่ 7)

ภาพที่ 5 ชุดหัวพิมพ์
ภาพที่ 6 หน้าจอควบคุม
ภาพที่ 7 ที่เก็บม้วน filament

ประสบการณ์จากการใช้งาน

จากการใช้งานเครื่องพิมพ์รุ่นนี้มาสักระยะหนึ่ง เริ่มจากการประกอบชิ้นส่วนที่ได้รับจากโรงงานให้ใช้งานได้ ถือว่าง่ายพอสมควรสำหรับมือใหม่ แต่การประกอบให้ใช้งานได้ดีนั้นอาจต้องอาศัยประสบการณ์ระดับหนึ่ง ในการเลือกใช้งานเมนูก็ไม่ได้ยากหรือซับซ้อนอะไรมากมาย

ในการพิมพ์สามารถปรับจูนระหว่างพิมพ์ได้ซึ่งทำให้เราปรับระดับแกน Z ได้ทันทีทำให้เราไม่จำเป็นต้องเริ่มพิมพ์ใหม่เมื่อมีการคลาดเคลื่อนของเซ็นเซอร์วัดระดับแกน Z เช่น เมื่อเลื่อนไปทำแหน่ง Home แล้วแกน Z สูงเกินไปทำให้ filament ไม่ติดฐาน หรือต่ำไปทำให้หัวพิมพ์ดันเส้นออกมาได้ไม่เท่าที่ควร เราก็ปรับให้เป็นตำแหน่งที่เหมาะสมได้ทันที

ส่วนผลงานที่ได้จากเครื่องที่ประกอบโดยมือใหม่ถือว่าเป็นผลที่น่าพอใจเลยครับแต่อาจจะต้องอาศัยประสบการณ์สักนิดในการปรับจูนเครื่องบางจุดเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีขึ้น

ผลงานบางส่วน

ภาพที่ 8 ผลงานที่จากเครื่องพิมพ์(1)
ภาพที่ 9 ผลงานที่จากเครื่องพิมพ์(2)
ภาพที่ 10 ผลงานที่จากเครื่องพิมพ์(3)
ภาพที่ 11 ผลงานที่จากเครื่องพิมพ์(4)

สรุป

สำหรับเครื่องพิมพ์รุ่นนี้ถือว่าเหมาะสำหรับมือใหม่ เนื่องจากสามารถประกอบได้ง่าย ใช้งานได้ง่าย ผลงานค่อนข้างดี และยังสามารถปรับจูนให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นอีกได้ทั้งจากการประกอบและการปรับค่าต่างๆ ในซอฟต์แวร์ควบคุมได้

(C) 2022, อ.จารุต บุศราทิจ / อ.ดนัย เจษฎาฐิติกุล

ปรับปรุงเมื่อ 2022-06-01