[TH] Using ESP32’s ADC and DAC with Micropython.

บทความนี้เป็นการใช้งาน ADC (Analog-to-Digital Converter) และ DAC (Digital-to-Analog Converter) ของไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 ด้วยภาษาไพธอนของ MicroPython ซึ่งเป็นคลาสย่อยชื่อ ADC และ DAC ซึ่งอยู่ภายใต้คลาส machine เพื่อเรียนรู้คลาสย่อยทั้งสอง พร้อมทั้งตัวอย่างโปรแกรมการใช้งานคลาสดังภาพที่ 1 เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการนำไปพัฒนาต่อไป

ภาพที่ 1 ตัวอย่างการใช้ ADC/DAC

[TH] machine.Pin

บทความนี้เป็นการเรียนรู้การใช้งานคลาส Pin ซึ่งเป็นคลาสย่อยในคลาส machine ของ Micropython เพื่อใช้งานกับไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP8266 หรือ ESP32 พร้อมทั้งกล่าวถึงหน้าที่ของขาของชิพทั้ง 2 ที่ควรทราบก่อนใช้งาน

[TH] Bare Metal Cortex-M Ep.6

หลังจากได้ใช้คำสั่ง HAL สำหรับสั่งงาน Cortex-M0/M3/M4 ไปกันพอสมควร ครั้งนี้มาประยุกต์เพื่อขับเคลื่อนหุ่นยนต์รถ 2 ล้อให้เดินหน้า ถอยหลัง หันซ้าย หันขวา และหยุดกันบ้าง ดังนั้น ในบทความนี้กล่าวถึงการประยุกต์ใช้ GPIO เพื่อส่งสัญญาณ 0 หรือ 1 ไปยังพอร์ตที่ต่อกับภาคขับมอเตอร์ดังภาพที่ 1 เพื่อให้ตัวหุ่นนั้นเคลื่อนที่

ภาพที่ 1 หุ่นยนต์เคลิื่อนที่ด้วยล้อ

[TH] Bare Metal Cortex-M Ep.3

จากบทความก่อนหน้านี้ได้ทดลองควบคุมการนำออกสัญญาณดิจิทัลด้วยการขับวงจรแอลอีดีที่เชื่อมต่อกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ STM32 ทั้งแบบ Cortex-M0, Cortex-M3 และ Cortex-M4 ในบทความนี้กล่าวถึงการใช้งานขาเพื่อนำเข้าสัญญาณดิจิทัล และใช้ตัวอย่างการต่อวงจรสวิตช์เพื่อควบคุมการติดหรือดับของหลอดแอลอีดีดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1 ภาพตัวอย่างของการทดลองใน Ep3

[TH] Bare Metal Cortex-M Ep.5

บทความนี้กล่าวถึงการใช้งาน ADC (Analog to Digital Converter) ของ STM32 ที่มีความละเอียด 12 บิต ทำให้สามารถอธิบายค่าแรงดันแอนาล็อกได้ 4096 ระดับ (0 ถึง 4095) ของแรงดัน 0 ถึง 3V3 ซึ่งสามารถปรับระดับความละเอียดให้เป็น 12บิต 10 บิต 8 บิต หรือ 6 บิตได้เพื่อแลกกับความเร็วในการทำงาน โดยใช้ชุดคำสั่ง HAL ที่มากับชุดพัฒนาของ STM32CubeIDE/STM32CubeMX และในการทดลองได้เลือกใช้อุปกรณ์ดังภาพที่ 1 ซึ่งเป็นบอร์ดต้นแบบของ dCoreM0 ของทางทีมงานเรา

ภาพที่ 1 บอร์ดต้นแบบ dCoreM0 สำหรับทดลอง ADC

[TH] _thread

บทความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้คลาส _thread กับไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 ซึ่งมีหน่วยประมวลผล 2 แกน (core) แต่อย่างไรก็ดีคลาสเธรดเป็นโมดูลที่เป็นส่วนย่อยจากโมดูล cython และขณะที่เขียนบทความยังไม่สมบูรณ์พร้อมใช้งาน โดยโครงสร้างของคลาสเป็นดังภาพที่ 1 และคลาสย่อย LockType เป็นดังภาพที่ 2

[TH] random

การสุ่มตัวเลขในภาษาไพธอนใช้คลาส random แต่ในระบบไมโครคอนโทรลเลอร์ไม่มีระบบที่สนับสนุนการสุ่มมากเหมือนในระบบคอมพิวเตอร์ทำให้ Micropython รองรับคำสั่งแตกต่างกันไปตามประเภทของชิพ โดยในบทความนี้กล่าวถึงการใช้ random กับไมโครคอนโทรลเลอร์ esp8266 และ esp32 ซึ่งมีคำสั่งให้ใช้งานเพียงสร้างตัวเลขสุ่ม และกำหนดค่า seed ของการสุ่มดังนี้

[TH] machine.RTC

บทความนี้นำรายละเอียดของคลาส machine.RTC ของ Micropython มาเรียนรู้กัน โดยหน้าที่หลักของคลาสนี้คือ ออกแบบมาเพื่อเป็น RTC (Real-Time Clock) หรือนาฬิกาฐานเวลาจริง ภายในไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับเก็บวันที่และเวลาจึงทำให้สะดวกมากขึ้นเมื่อใช้งานร่วมกับชิพ ESP8266 หรือ ESP32 เนื่องจากสามารถเข้าถึง NTP เพื่ออ่านวันที่และเวลาจากอินเทอร์เน็ตหลังจากนั้นนำค่ามาเก็บลง RTC ทำให้มีวันที่และเวลาที่ถูกต้องพร้อมทั้งไม่ต้องเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบ่อย ๆ เพื่ออ่านค่าดังกล่าวอีกครั้ง ซึ่งประหยัดการใช้วงจร RTC ภายนอกอีกด้วย

[TH] Bare Metal Cortex-M Ep.2

จากบทความก่อนหน้านี้ได้ทดลองเขียนโปรแกรมเพื่อศึกษาองค์ประกอบของไฟล์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้งานซึ่งจะพบว่ามีรายละเอียดและขั้นตอนเยอะพอสมควร แต่เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับผู้ต้องการศึกษาการเขียนโปรแกรมควบคุม Cortex-M0 ผ่านชิพ STM32F030F4P6 (ภาพที่ 1), Cortex-M3 ด้วย STM32F103C (ภาพที่ 32) และ Cortex-M4 ด้วย STM32F401CCU6 (ภาพที่ 27) อย่างจริงจัง และมีประโยชน์ต่อการศึกษาโครงสร้างการเขียนโปรแกรมด้วยเครื่องมือเขียนโปรแกรมอย่าง STM32CubeIDE (ภาพที่ 2) ซึ่งเป็นเครื่องมือหลักที่จะใช้ในบทความชุดนี้ เนื่องจากเป็นการรวมชุดพัฒนาสำหรับ ARM ของบริษัท ST แบบครบครันทั้ง CubeMX สำหรับออกแบบการใช้งานชิพ เครื่องมือชุดคอมไพล์เลอร์ เครื่องมือดีบักโปรแกรมผ่าน ST-Link ลงชิพ และชุดแก้ไขโค้ดอยู่ในตัวเดียว แถมรองรับการใช้งานทั้งระบบปฏิบัติการ Windows, Linux และ macOS

ภาพที่ 1 บอร์ด STM32F030F4P6 กับ USB–RS232

[TH] esp/esp32 class

บทความนี้เป็นการเรียนรู้การใช้งานคลาส esp และ esp32 ที่เป็นคลาสสำหรับใช้งานเฉพาะกับไมโครคอนโทรลเลอร์ esp8266 และ esp32 เพื่อเข้าถึงคุณลักษณะเฉพาะ และความสามารถภายในของชิพทั้ง 2