[TH] Raspberry Pi & Ultrasonic Sensor

บทความนี้กล่าวถึงการใช้โมดูล Ultrasonic กับบอร์ด Raspberry Pi (บทความก่อนหน้านี้ใช้กับ ESP8266) ด้วยภาษาไพธอนเพื่อแสดงระยะห่างจากเซ็นเซอร์กับวัตถุที่พบได้ใกล้ที่สุด

ภาพที่ 1 VisionRobo ที่ติดตั้งโมดูล Ultrasonic Sensor

[TH] QRCode Detected!

บทความนี้อธิบายวิธีการใช้ OpenCV เพื่อค้นหา QRCode จากภาพที่ได้จาก Web Camera ที่พ่วงต่อจากพอร์ต USB ของ Raspberry Pi เมื่อพบ QRCode ในภาพจะทำการถอดรหัสและแสดงผลข้อความที่ถอดรหัสได้ โดยตัวอย่างของบทความนี้ประกอบด้วยตัวอย่างการอ่านแสดงผลจากกล้องเว็บ และออกจากโปรแกรมด้วยการกดแป้น ESC กับตัวอย่างการค้นหารหัส QRCode และถอดรหัสข้อความภายในภาพพร้อมจัดเก็บผลลัพธ์ของภาพลงไฟล์ภาพ

ภาพที่ 1

[TH] Speech to Text & Text to Speech

บทความนี้เป็นตัวอย่างการประยุกต์ใช้ภาษาไพธอนเพื่อเรียกใช้บริการการแปลงเสียงพูดเป็นข้อความหลังจากนั้นส่งข้อความไปให้บริการแปลงข้อความเป็นเสียงของ Google สร้างไฟเสียง mp3 กลับมา สุดท้ายใช้ pygame เล่นเสียงพูดออกทางลำโพง โดยทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows

[TH] Data Science Ep1 Pandas

บทความนี้เป็นการใช้งานคลังไลบรารี Pandas ของภาษาไพธอนโดยใช้บอร์ด Raspberry Pi 3 B+ เป็นอุปกรณ์ทำงาน โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับไพธอนของระบบปฏิบัติการ Windows, macOS หรือ Linux ได้ ซึ่งบทความนี้จะแบ่งเป็นหลายตอนเหมือนกับคลังไลบรารี ulab ที่ผ่านมา โดยในบทความตอนที่ 1 กล่าวถึงคุณสมัติของ Pandas, การติดตั้ง และโครงสร้างข้อมูลของ Pandas

[TH] How to calculate the percentage of head or tails occurrence of a one coin.

บทความนี้เป็นตัวอย่างโปรแกรมภาษาไพธอนเพื่อคำนวณหาร้อยละของการเกิดของด้านหัวหรือก้อยของการโยนเหรียญที่มี 2 ด้านจำนวน n ครั้ง

[TH] Let’s have fun doing time-lapse with ESP32CAM.

บทความนี้เป็นการประยุกต์ใช้ชุดบอร์ด ESP32CAM เพื่อทำการถ่ายภาพแบบต่อเนื่องโดยกำหนช่วงเวลาระหว่างการถ่ายภาพแต่ละใบหรือที่เรียกว่า time-lapse ซี่งในบทความนี้เขียนโดยใช้ภาษาไพธอน ด้วยการติดตั้งเฟิร์มแวร์ที่ถูกคอมไพล์ด้วยการผนวกไลบรารี camera สำหรับการเชื่อมต่อกับโมดูลกล้องบนบอร์ด ESP32CAM ทำให้การเขียนโปรแกรมสะดวกและปรับแต่งโค้ดได้ง่าย

ภาพที่ 1 บอร์ด ESP32CAM ที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้

[TH] How To Compile MicroPython To Use With ESP32.

บทความนี้เป็นบันทึกย่อขั้นตอนการคอมไพล์ MicroPython เพื่อใช้งานกับบอร์ด ESP32 ด้วยระบบปฏิบัติการลินุกซ์ที่อยู่ในระบบปฏิบัติการ Windows 10 หรือ WSL รุ่น 1 หรือ 2 เพื่อนำไบนารีไฟล์ที่ได้ไปเขียนลงบอร์ด ESP32 ต่อไป

[TH] LAMP on Raspberry Pi

บทความนี้เป็นบันทึกความจำเกี่ยวกับการตั้งค่าให้บอร์ด Raspberry Pi 3 B+ ให้กลายเป็นเครื่องบริการเว็บตามหลักของ LAMP หรือ Linux + Apache + MySQL + PHP โดยเราเลือกใช้ MariaDB แทน MySQL และได้กล่าวถึงวิธีติดตั้งและตั้งค่าไปแล้วในบทความก่อนหน้านี้

[TH] How to install MariaDB on Raspberry Pi?

บทความนี้เป็นบันทึกฉบับย่อของการการติดตั้งระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล MariaDB บนบอร์ด Raspberry Pi เพื่อใช้จัดเก้บและจัดการกับข้อมูล โดยสร้างฐานข้อมูลเฉพาะให้กับผู้ใช้ที่สามารถล็อกอินเข้าใช้ระบบของ Raspberry Pi ได้

[TH] Installing NumPy and Matplotlib on Raspberry Pi

บทความนี้แนะนำการติดตั้งไลบรารี NumPy และ Matplotlib บนบอร์ด Raspberry Pi เพื่อใช้งานทางด้านการคำนวณ (อ่านตัวอย่างการใช้ numpy สำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็กได้จากบทความ ulab) และแสดงผล โดยในบทความกล่าวถึงการติดตั้ง การอัพเกรด และการใช้งานเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้งานต่อไป ส่วนการใช้งาน Raspberry Pi กับการเขียนโปรแกรมภาษาไพธอนสามารถหาอ่านเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ หรือสนับสนุนทีมงานเราได้ด้วยการซื้อหนังสือ หรือหาบอร์ด Raspberry Pi 4 รุ่น 4GB สามารถสั่งซื้อได้จากร้ายค้าต่าง ๆ หรือจากที่นี่ครับ ส่วนผู้เขียนใช้งาน Raspberry Pi 3 B+