[TH] Arduino: JoyStick Shield

บทความนี้แนะนำการใช้ Game Pad/Joystick กับบอร์ด Arduino Uno หรือ Arduino Mega เนื่องจากเป็นโมดูลที่ออกแบบเป็น Shield ของบอร์ดทั้ง 2 เมื่อนำมาประกอบจะได้เกมแพดน่ารัก ๆ 1 ชิ้นดังภาพที่ 1 โดยในบทความอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์แต่ละชิ้นกับ GPIO พร้อมตัวอย่างการใช้งาน ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับโมดูลจอยสติกอ่านได้จากบทความก่อนหน้านี้

ภาพที่ 1 Joystick Shield

[TH] Arduino: Joystick Module

บทความนี้เป็นการเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานโมดูลจอยสติก (Joystick) ดังภาพที่ 1 ซึ่งตัวโมดูลสามารถบอกข้อมูลการเคลื่อนที่ในแกน X การเคลื่อนที่ในแกน Y และสถานะการกดสวิทตช์ที่ตัวจอยสติก โดยตัวอย่างการใช้งานโมดูลนี้เป็นการใช้กับบอร์ด esp32 โดยใช้ภาษา C++ เพื่อเชื่อมต่อกับ GPIO ด้วยคำสั่งที่เคยกล่าวไปแล้วในบทความนี้

ภาพที่ 1 โมดูลจอยสติกกับ esp32

[TH] ESP-IDF Ep.2 : Hello World!

บทความนี้ต่อเนื่องจากการติดตั้ง ESP-IDF เพื่อทดลองเขียนโค้ด คอมไพล์ และอัพโหลดเข้าบอร์ด ESP32 เพื่อให้ใจขั้นตอนของการพัฒนาโปรแกรมภาษา C ของบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32

ภาพที่ 1 บอร์ด esp32+OLED

[TH] An Interrupt in MicroPython

บทความนี้อธิบายหลักการทำการขัดจังหวะหรืออินเทอร์รัพต์ (Interrupt) และการดักการเกิดการขัดจังหวะด้วย MicroPython โดยทดลองกับ ESP8266 และ ESP32 เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนโปรแกรมตอบสนองการเกิดเหตุการณ์จากภายนอกโดยไม่ต้องรอให้งานที่ทำอยู่นั้นทำเสร็จก่อน

ภาพที่ 1 การทดลองตรวจจับระยะด้วยการดักการขัดจังหวะ

[TH] Digital Compass Sensor

บทความนี้เป็นการอธิบายการใช้งานเซ็นเซอร์เข็มทิศดิจิทัลรุ่น GY-271 ด้วยภาษาไพธอนของ MicroPython เพื่อใช้งานกับ ESP8266 หรือ ESP32 (และได้ทดลองกับ STM32F411CEU6 กับ Raspberry Pi 3B+ และ 4B แล้วสามารถใช้งานได้เหมือนกัน) เพื่อตั้งค่าการทำงานและอ่านค่าแกน X,Y และ Z จากเซ็นเซอร์ หลังจากนั้นนำมาคำนวณเป็นค่าองศาของทิศเหนือ

ภาพที่ 1 ทดลองใช้ GY-271

[TH] ESP8266 and OLED

บทความนี้เป็นการเชื่อมต่อ ESP8266 เข้ากับโอแอลอีดี หรือ OLED ซึ่งเป็นแอลอีดีกราฟิกแบบ 2 สี คือ สี 0 แทนไม่แสดงจุดสี และ 1 แทนการแสดงจุดสี โดยเชื่อมต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์ผ่านบัส I2C โดยกล่าวถึงวิธีการใช้และฟังก์ชันสำหรับใช้งานเพื่อเป็นแนวทางและเนื้อหาอ้างอิงในการนำไปใช้ต่อไป

ภาพที่ 1 ตัวอย่างการใช้งาน OLED

[TH] ESP-IDF Ep.1: ESP-IDF on Raspberry Pi

บทความนี้เป็นขั้นตอนการติดตั้ง ESP-IDF บนบอร์ด Raspberry Pi 3 หรือ 4 ที่ติดตั้ง Raspbian เป็นระบบปฏิบัติการ (หรือประยุกต์เข้ากับการติดตั้งบนระบบปฏิบัติการอื่น ๆ ของเครื่องที่ใช้หน่วยประมวลผลของ AMD/Intel ได้) เพื่อใช้เป็นตัวแปลภาษา C++ สำหรับพัฒนาโปรแกรมสำหรับบอร์ด ESP32 ซึ่งเรียกกว่า bare metal หรือใช้ในการคอมไพล์ MicroPython โดยเฉพาะตัว mpy-cross ซึ่งเป็นตัวแปลภาษาไพธอน (.py) ให้เป็นไบต์โค้ด (.mpy) ซึ่งทำให้สามารถปกป้องรหัสที่เขียน (Source code) ช่วยให้การประมวลผลคำสั่งไวขึ้น (เนื่องจากถูกแปลมาก่อนแล้ว) และขนาดของไฟล์มีขนาดเล็กลง

ภาพที่ 1 หน้าจอเมื่อเข้าใช้ Terminal

[TH] Arduino: ESP32/ESP8266

บทความนี้อธิบายการติดตั้งเฟรมเวิร์ก Arduino สำหรับบอร์ด ESP32 และ ESP8266 เพื่อใช้งานกับ Arduino IDE ทำให้สามารถใช้ C++ กับบอร์ดทั้ง 2 ได้ โดยบทความจะบอกขั้นตอนการติดตั้งเพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจ

[TH] Let’s have fun doing time-lapse with ESP32CAM.

บทความนี้เป็นการประยุกต์ใช้ชุดบอร์ด ESP32CAM เพื่อทำการถ่ายภาพแบบต่อเนื่องโดยกำหนช่วงเวลาระหว่างการถ่ายภาพแต่ละใบหรือที่เรียกว่า time-lapse ซี่งในบทความนี้เขียนโดยใช้ภาษาไพธอน ด้วยการติดตั้งเฟิร์มแวร์ที่ถูกคอมไพล์ด้วยการผนวกไลบรารี camera สำหรับการเชื่อมต่อกับโมดูลกล้องบนบอร์ด ESP32CAM ทำให้การเขียนโปรแกรมสะดวกและปรับแต่งโค้ดได้ง่าย

ภาพที่ 1 บอร์ด ESP32CAM ที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้

[TH] How To Compile MicroPython To Use With ESP32.

บทความนี้เป็นบันทึกย่อขั้นตอนการคอมไพล์ MicroPython เพื่อใช้งานกับบอร์ด ESP32 ด้วยระบบปฏิบัติการลินุกซ์ที่อยู่ในระบบปฏิบัติการ Windows 10 หรือ WSL รุ่น 1 หรือ 2 เพื่อนำไบนารีไฟล์ที่ได้ไปเขียนลงบอร์ด ESP32 ต่อไป