[TH] ulab EP 8 poly, fft and filter

บทความตอนที่ 8 เป็นตอนสุดท้ายของชุดไลบรารี ulab ที่เป็นไลบรารีคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่สามารถนำมาใช้กับ AI ได้ โดยในบทความตอนนี้กล่าวถึงโมดูลย่อย poly, fft และ filter ซึ่งได้อธิบายการทำงานของแต่ละฟังก์ชันพร้อมยกตัวอย่างการใช้งานเพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ต่อไป

[TH] ESP32 & NEO-6MV2 GPS Module

บทความนี้เป็นการใช้ ESP32 เชื่อมต่อกับโมดูลจีพีเอสผ่านทางพอร์ตสื่อสารอนุกรมลำดับที่ 2 ของ ESP32 เพื่ออ่านข้อมูลและแสดงผลข้อมูลที่ได้รับจากโมดูลจีพีเอส และแสดงความหมายที่อ่านได้ โดยตัวอย่างโปรแกรมที่ 1 เป็นการอ่านค่าจากโมดูลจีพีเอส และตัวอย่างที่ 2 เป็นการแสดงสารสนเทศที่อ่านได้จากโมดูลจีพีเอสเพื่อให้ผู้อ่านได้นำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป

ภาพที่ 1 โมดูลจีพีเอส NEO-6MV2

[TH] ulab EP 7 approx

บทความตอนที่ 7 ของชุดไลบรารี ulab เป็นเรื่องของโมดูลย่อย approx ที่ใช้สำหรับการประมาณค่าของตัวเลข ผลลัพธ์ของฟังก์ชัน หรือหารากของฟังก์ชันด้วยวิธี bisect หรือ newton และการหาค่าด้วย trapz โดยในนบทความนี้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของแต่ละฟังก์ชันพร้อมวิธีการใช้งาน และตัวอย่างโปรแกรมเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาการใช้งานและประยุกต์ใช้ต่อไป

[TH] ulab EP 5 numerical

บทความ ulab ตอนที่ 5 เป็นเรื่องของโมดูลย่อย numerical ที่ใช้ในการคำนวณหาค่าน้อยสุด มากสุด ผลรวม ค่าเฉลี่ย และค่าเบียงเบนมาตรฐาน ทำให้ทำงานด้านการคำนวณสถิติเบี้องต้นได้สะดวก โดยบทความอธิบายฟังก์ชันการทำงานของโมดูลย่อย numerical พร้อมตัวอย่างโปรแกรมเพื่อให้เห็นภาพของการทำงาน

[TH] ESP32 : Display of rotation squares with application ulab.

บทความนี้เป็นการใช้ ESP32 เพิ่อทำการหมุนสี่เหลี่ยมด้วยการใช้ไลบรารี ulab และนำผลจากการคำนวณไปแสดงผลที่โมดูลแอลซีดีกราฟิกที่ใช้หน่วยควบคุมเป็น ST7735s ดังที่เคยได้เขียนบทความไปแล้ว ซึ่งตัวอย่างของโปรแกรมประกอบด้วยการหมุนสี่เหลี่ยม 1 ชิ้นตามเข็มนาฬิกา และการหมุนสี่เหลี่ยมหลายชิ้นในทิศตรงกันข้ามกัน

คลิป 1 ตัวอย่างผลการทำงานที่ปรับแต่งความเร็วในการแสดงผลแล้ว

[TH] ulab EP 4 linalg

บทความตอนที่ 4 ของไลบรารี ulab เป็นเรื่องของโมดูลย่อย linalg ที่ใช้สำหรับการคำนวณพีชคณิตเชิงเส้น ซึ่งถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาแบบเชิงเส้น และเป็นเครื่องมือในการทำนายหรือศึกษาลักษณะของสิ่งที่เกิดขึ้นแบบเชิงเส้น โดยในบทความนี้กล่าวถึงฟังก์ชันต่าง ๆ ของโมดูลย่อย linalg และตัวอย่างการใช้งานเบื้องต้น

[TH] ulab EP3 vector

ในบทความเกี่ยวกับ ulab ในตอนที่ 3 นี้ เป็นเรื่องของโมดูลย่อย vector ของ ulab ที่ใช้สำหรับการคำนวณทางคณิตศาสตร์เช่นเดียวกับไลบรารี math ของ MicroPython โดยในเนื้อหาได้แสดงรายการฟังก์ชันที่ ulab บน ESP32 และ ESP8266 รองรับ พร้อมคำอธิบายหน้าที่ของฟังก์ชันนั้น ๆ

[TH] ulab EP2 array

จากบทความตอนที่ 1 ได้ติดตั้งและใช้งาน ulab กันไปเล็กน้อยเพื่อให้เห็นภาพการใช้งาน ส่วนบทความนี้กล่าวถึงโมดูลย่อย array เพื่อใช้สร้างแถวลำดับ 1 มิติและ 2 มิติในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น พร้อมตัวอย่างการใช้งาน โดยในตอนที่ 2 จะเพิ่มเติมเรื่องเครื่องหมายดำเนินการต่าง ๆ ที่ใช้กับแถวลำดับที่สร้างขึ้น

[TH] ulab EP1 Getting Started

ในกรณีที่ต้องการให้ MicroPython สำหรับ ESP8266 คำนวณทางคณิตศาสตร์เหมือนกับการใช้งานไลบรารี numpy ของภาษาไพธอนต้องติดตั้ง MicroPython ที่มี ulab อยู่ในตัว ด้วยการเข้าไปดาวน์โหลดเฟิร์มแวร์สำหรับ ESP8266 ได้จากที่เว็บนี้ สำหรับ ESP32 แบบปกติ และแบบมี PSRAM เพิ่มเติม (SPIRAM)

ในบทความนี้เป็นการแนะนำให้รู้จักกับ ulab และได้เห็นภาพรวมของไลบรารีภายใน ulab เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

ภาพที่ 1 เฟิร์มแวร์ MicroPython+ulab บน RSP8266