[TH] Using the DHT22/DHT11 Temperature and Humidity Sensor Module with ESP8266

บทความครั้งนี้เป็นการใช้งานโมดูลวัดค่าอุณหภูมิและความชื้น DHT22 และ DHT11 ด้วยภาษาไพธอน ซึ่งเป็นโมดูลเซ็นเซอร์ที่ทำงานด้วยการใช้สายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ทำให้ประหยัดพอร์ตของไมโครคอนโทรลเลอร์ในการเชื่อมต่อกับโมดูลเซ็นเซอร์ นอกจากนี้ MicroPython มีไลบรารีเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน DHT22 และ DHT11 จึงสะดวกและประหยัดเวลา ลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดจากการเขียนโปรแกรมด้วยตนเอง

ตัวอย่างในบทความนี้มี 3 ตัวอย่าง code17-1 เป็นการอ่านค่ามาแสดงผลแบปกติ แต่ code17-2 เป็นการวนรอบเพื่ออ่านซ้ำ โดยนำค่าที่อ่านมาหาค่าน้อยสุดและต่ำสุด พร้อมทั้งแสดงออกทางโมดูลแอลซีดีดังภาพที่ 8 และตัวอย่าง code17-3 เป็นการแสดงค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิและความชื้น

ภาพที่ 1 ผลลัพธ์จาก code17-1

[TH] ESP8266 and 3-Axis Digital Accelerometer

บทความนี้แนะนำการใช้เซ็นเซอร์การเคลื่อนที่ หรือการขยับใน 3 แกนแบบดิจิทัลที่ใช้ไอซี MMA7660FC ซึ่งทำให้เราทราบว่าโมดูลนี้ขยับไปทางซ้าย/ขวา หน้า/หลัง หรือบน/ล่าง หรือเกิดการหมุนซ้าย/ขวา หน้า/หลัง และบน/ล่าง โดยในบทความได้สร้างไลบรารีเพื่อเปิดการทำงานของเซ็นเซอร์ กำหนดอัตราการทำแซมปลิง (sample rate) และทำการแปลงค่าที่ได้จากโมดูลมาแสดงผล

ภาพที่ 1

[TH] ESP8266 and I2C LCD 16×2

บทความนี้เป็นการเขียนไลบรารีเพื่อสั่งงานโมดูลแอลซีดีตัวอักษรโดยใช้การสั่งงานผ่านบัส I2C ซึ่งเลือกใช้โมดูล PCF8574 ที่ออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อกับแอลซีดี ทำให้สามารถใช้ขาสั่งงาน 2 ขาจาก ESP8266 ต่อสั่งงานโมดูลแอลซีดีได้ 8 ขา คือ RS, R/W, EN, A, D0, D1, D2 และ D3 พร้อมทั้งสามารถเปิด/ปิดการใช้แสงส่องหลังโมดูลแอลซีดีและปรับความชัดของตัวอักษรของโมดูลแอลซีดีได้จากตัวต้านทานปรับค่าได้ที่อยู่บนโมดูล PCF8574

ภาพที่ 1

[TH] ESP8266 RoboCar+Ultrasonic Sensor

บทความนี้เป็นตัวอย่างการนำหุ่นยนต์รถที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์แบบเซอร์โวดังที่กล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้มาใช้งาน โดยในบทความนี้ใช้การเคลื่อนที่ด้วยการกำหนดกฎการเคลื่อนที่ภายใต้การตัดสินใจเรื่องระยะทางที่อ่านได้จากเซ็นเซอร์วัดระยะทางอย่าง Ultrasonic Sensor

ภาพที่ 1

[TH] ESP8266+RoboServo

บทความนี้เป็นตัวอย่างการเขียนโปรแกรมภาษาไพธอนเพื่อสั่งงานมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงที่เรียกว่าเซอร์โวมอเตอร์ (Servo Motor) และเมื่อนำเซอร์โวมอเตอร์มาขับเคลื่อนล้อทางด้านซ้ายและขวาทำให้สามารถทำงานเป็นหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้ออย่างง่าย ๆ ได้ นอกจากนี้ ตัวอย่างโปรแกรมของบทความนี้ เป็นการสั่งงานการเคลื่อนที่หุ่นยนต์ขับเคลื่อนด้วยล้อเพื่อสั่งเดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา และหยุด

ภาพที่ 1

[TH] ESP8266+ST7735s TFT LCD 0.96″ 80×160 RGB565

จากบทความ ST7735S 0.96″ 80×160 TFT LCD ได้กล่าวถึงคุณลักษณะและหน้าที่ของขาเชื่อมต่อพร้อมตัวอย่างการเชื่อมต่อกับ TTGO T8 ESP32 ไปเรียบร้อยแล้ว ในบทความนี้เป็นตัวอย่างการนำโมดูลแสดงผลมาใช้งานกับ ESP8266 ซึ่งมีขีดจำกัดในเรื่องของปริมาณหน่วยความจำที่น้อยกว่า ESP32 จึงต้องแก้ปัญหาด้วยการคอมไพล์ไลบรารีให้เป็นไบต์โค้ดนามสกุล mpy

ภาพที่ 1

[TH] ESP8266 MicroSD-Card Reader (Adapter)

บทความนี้เป็นตัวอย่างการใช้โมดูลอ่าน/เขียนการ์ดประเภท SD-Card เพื่อเก็บข้อมูลและอ่านข้อมูลในรูปแบบ JSON ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับผู้อ่านบทความสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานต่อไปในอนาคต

ภาพที่ 1

[TH] ESP8266 Control Relay

บทความนี้เป็นตัวอย่างการเขียนโปรแกรมภาษาไพธอนเพื่อขับโมดูรีเลย์เพื่อเปิด/ปิดหลอดแอลอีดีให้สว่างหรือดับผ่านการสั่งงาน WiFi ในโหมด AP ของ ESP8266

ภาพที่ 1