[TH] How to render the Thai string correctly?

จากบทความการใช้งาน u8g2 ที่สามารถเรนเดอร์ (Render) ภาษาไทย (Thai string) ได้ผ่านทางฟังก์ชัน drawUTF8() ของไลบรารี u8g2 แต่การแสดงผลไม่ถูกต้อง ดังภาพที่ 1 ด้วยเหตุนี้จึงต้องปรับปรุงโค้ดของไลบรารีเพิ่มเติมเพื่อให้การแสดงผลถูกต้องดังภาพที่ 2

ภาพที่ 1 การแสดงผลของ drawUTF8() ก่อนปรับปรุง
ภาพที่ 2 การแสดงผลของ drawUTF8() หลังปรับปรุง

[EN] ESP8266 and OLED

This article is about connecting the ESP8266 to an OLED, which is a two-color graphic LED, where 0 represents blank and 1 represents color dot. It is connected to the microcontroller via the I2C bus. How to use it and its functions are discussed as a guide and reference material for further implementation.

(Figure. 1 OLED usage)

[TH] เกมวิ่งเก็บธงในเขาวงกต

บทความนี้เป็นตัวอย่างการเขียนเกมขยับตัวละครให้เดินไปในเขาวงกตเพื่อเก็บธงที่ถูกสุ่มตำแหน่ง ดังภาพที่ 1 ซึ่งตัวละครจะเดินในช่องที่กำหนดไม่สามารถทะลุกำแพงได้ โดยมีเสียงร้องเตือนเมื่อพยายามเดินไปในตำแหน่งที่ไม่สามารถไปได้ และเมื่อเดินไปทิศใดจะเปลี่ยนภาพของตัวละครให้หันไปทางทิศนั้น นอกจากนี้กำหนดให้การกดปุ่ม A ให้เป็นการสุ่มตำแหน่งของธงใหม่ การกดปุ่ม B ให้ทำการสุ่มตำแหน่งของผู้เล่น และถ้ากดปุ่ม D ให้ออกจากโปรแกรม โดยบอร์fสำหรับใช้งานยังคงเป็น dCoreML4M เช่นเดิม มาเริ่มกันครับ

ภาพที่ 1 ตัวอย่างเกมของบทความนี้

[TH] The dCore-espWST

บทความนี้แนะนำการใช้ esp8266 เพื่ออ่านอุณหภูมิความชื้นจากเซ็นเซอร์ DHT11 ค่าแรงดันจากเซ็นเซอร์ LDR รับค่าจากสวิตช์ และแสดงผลผ่านทาง OLED ด้วยภาษาไพธอนของ MicroPython โดยคุณสมบัตินี้เป็นบอร์ด dCore-espWST ที่พวกเราใช้งาน (ซึ่งบทความก่อนหน้านี้เราก็ใช้ตัว dCore-esp32WST ที่มีการออกแบบเหมือนกันแต่ใช้ esp32 แต่โค้ดโปรแกรมยังคงใช้กับบอร์ดรุ่นได้ด้วยเช่นกัน) และเป็นบอร์ดสำหรับใช้ในการเรียนการสอนวิชา IoT โดยโครงสร้างต้นแบบของบอร์ดเป็นดังภาพที่ 1 ซึ่งปกติจะใช้กับชุดจ่ายไฟจากระบบแบตเตอรีพร้อมวงจรชาร์จจากแผงโซลาเซลล์

ภาพที่ 1 ต้นแบบของบอร์ด dCore-espWST

[TH] เกม 15-Puzzle

บทความนี้เป็นตัวอย่างเกม 15-Puzzle โดยใช้บอร์ด ml4m ที่มีผลลัพธ์ของหน้าจอดังภาพที่ 1 ซึ่งเป็นเกมที่ทำให้ผู้เล่นได้ฝึกทักษะการคิดแบบมีกลยุทธ์มีการมองเกมล่วงหน้าเพื่อวางแผนการเลื่อนตัวเลข นอกจากนี้เกม 15-puzzle นอกจากอยู่ในรูปแบบของตัวเลขแล้วยังสามารถเปลี่ยนแปลงจากตัวเลขให้เป็นภาพ คือ เปลี่ยนเป็นภาพ 1 ภาพและแบ่งออกเป็น 16 ส่วน แล้วให้ผู้เล่นทำการเลื่อนภาพเพื่อต่อให้เหมือนกับต้นฉบับ นอกจากนี้ในตัวอย่างมีการใช้บัซเซอร์ในการสร้างเสียงบี๊บโดยใช้ DAC ขนาด 8 บิตของไมโครคอนโทรลเลอร์ esp32 พร้อมทั้งการเขียนโปรแกรมเลือกใช้ภาษาไพธอนบน MicroPython เช่นเคย

ภาพที่ 1 ตัวอย่างการสุ่มค่าในตาราง 4×4

[TH] ESP32-ML4M กับเกม Tic-Tac-Toe ภาคจบ

จากบทความเกม Tic-Tac-Toe หรือเกมโอเอ็กซ์ที่เล่นกับคอมพิวเตอร์ (esp32) ผ่านทางคอนโซลของโปรแกรมเทอร์มินอลซึ่งไม่สะดวก คราวนี้มาเรียนรู้การใช้วงจรต่อพ่วงของ esp32 ของบอร์ด ML4M (ภาพที่ 1) ว่ามีวงจร I/O อย่างไรบ้าง และตัวอย่างเกม Tic-Tac-Toe ที่เล่นผ่านอุปกรณ์เป็นอย่างไร ซึ่งในโค้ดมีการทำงานกับโมดูลจอยสติก และสวิตช์แบบสัมผัส

ภาพที่ 1 บอร์ด ml4m บอร์ดทดสอบเกม Tic-Tac-Toe

[TH] เกม Tic-Tac-Toe

บทความนี้เป็นเก็บตกตัวอย่างเกมโอเอ็กซ์หรือ Tic-Tac-Toe ที่ทางทีมเราใช้ในการสอนวิชาพัฒนาเกมด้วยภาษาต่าง ๆ ตามความเหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียน แต่ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาไพธอนในการนำสอนเนื่องจากอธิบายและเขียนไปด้วยได้สะดวกกว่าภาษาอื่น ประกอบกับอยากให้มองเห็นแนวทางการนำไปใช้กับแพลตฟอร์มอื่น ๆ บ้าง ทางพวกเราจึงนำตัวอย่างมาใช้กับ MicroPython ของบอร์ดที่เราตั้งชื่อกันว่า ml4m ซึ่งมีที่มาจากบอร์ดนี้ติดตั้ง TensorFlow Lite บน ESP32 แบบ ROM 4MB โดยบอร์ดมีหน้าตาดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1 บอร์ด ml4m บอร์ดทดสอบเกม Tic-Tac-Toe

[TH] แถบแสดงค่าอุณหภูมิและความชื้น

บทความนี้เป็นตัวอย่างโปรแกรมสำหรับกรณีที่ต้องการแสดงแถบแสดงค่าอุณหภูมิและความชื้นดังภาพที่ 1 ด้วย MicroPython กับบอร์ด esp32 ที่ติดตั้ง OLED จะเขียนอย่างไร โดยอุปกรณ์ในการทดลองครั้งนี้ใช้ DHT22 เป็นอุปกรณ์วัดความชื้นและอุณหภูมิ โดยบอร์ดเชื่อมต่อกับบัส I2C เพื่อสื่อสารกับ OLED ผ่านทางขา GPIO4 และ GPIO5 สำหรับทำหน้าที่ SCL และ SDA ตามลำดับ พร้อมกันนี้ได้ต่อขาสัญญาณของ DHT22 เข้ากับขา GPIO15 เพื่อใช้สื่อสารกันระหว่างเซ็นเซอร์กับไมโครคอนโทรเลอร์

ภาพที่ 1 ตัวอย่างผลัพธ์ของการแสดงแถบแสดงค่าอุณหภูมิและความชื้น

[TH] u8g2 Library

จากบทความการใช้ ESP8266 กับจอแสดงผลกราฟิกแบบ OLED ซึ่งเขียนด้วยภาษาไพธอนจะพบว่าการทำงานนั้นสะดวกรวดเร็วในระดับดี แต่เมื่อต้องใช้กับไมโครคอนโทรลเลอร์ตัวอื่นที่ไม่สามารถใช้ Micropython หรือ CircuitPython ได้นั้นจะต้องทำอย่างไร ซึ่งหนึ่งในหลายทางเลือกคือไลบรารี u8glib หรือ u8g2 (Universal 8 bit Graphics Library) ที่ออกแบบมาเพื่อทำงานกับกราฟิกแบบ 8 บิตแบบโมโนโครมทั้งผ่านการสื่อสารแบบ I2C หรือ SPI โดยบทความนี้ใช้อุปกรณ์ต่อเชื่อมกันดังภาพที่ 1 ด้วยการใช้ OLED แบบ I2C

ภาพที่ 1 การเชื่อมต่อ STM32F401CCU6 กับ OLED แบบ I2C

[TH] ESP8266 and OLED

บทความนี้เป็นการเชื่อมต่อ ESP8266 เข้ากับโอแอลอีดี หรือ OLED ซึ่งเป็นแอลอีดีกราฟิกแบบ 2 สี คือ สี 0 แทนไม่แสดงจุดสี และ 1 แทนการแสดงจุดสี โดยเชื่อมต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์ผ่านบัส I2C โดยกล่าวถึงวิธีการใช้และฟังก์ชันสำหรับใช้งานเพื่อเป็นแนวทางและเนื้อหาอ้างอิงในการนำไปใช้ต่อไป

ภาพที่ 1 ตัวอย่างการใช้งาน OLED