[TH] Draw an analog clock using MicroPython.

บทความก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงการปรับปรุงปรับปรุงความเร็วในการแสดงผลด้วยการใช้เทคนิคดับเบิลบัฟเฟอร์ (double buffer) จึงนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการแสดงผลเป็นนาฬิกาแบบแอนาล็อกดังภาพที่ 1 ซึ่งวิธีการวาดนั้นใช้การคำนวณตรีโกณมิติเพื่อหาค่าพิกัด (x,y) ของปลายเข็มวินาที นาที และชั่วโมง โดยการทำงานของแต่ละวินาทีจะใช้ตัวตั้งเวลาหรือไทเมอร์ (Timer) เพื่อให้การทำงานนั้นใกล้เคียงกับเวลาจริงมากกว่าการวนรอบหรือการหน่วงเวลา

ภาพที่ 1 ตัวอย่างผลลัพธ์ของการวาดนาฬิกาแบบแอนาล็อก

[TH] Binary Search Tree data structure programming with Python.

ในบทความก่อนหน้านี้ได้แนะนำการเขียนโปรแกรมเพื่อใช้โครงสร้างข้อมูลแบบคิวไปแล้ว ในบทความนี้จึงแนะนำการเขียนโปรแกรมจัดการโครงสร้างข้อมูล (Data Structure) อีกประเภทหนึ่งซึ่งมีวิธีการจัดเก็บและจัดการที่แตกต่างกันไปอันมีชื่อว่าต้นไม้แบบ BST หรือ Binary Search Tree ดังในภาพที่ 1 ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สามารถนำไปประยุกต์เกี่ยวกับการเก็บข้อมูลที่มีคุณลักษณะที่ข้อมูลทางกิ่งด้านซ้ายมีค่าที่น้อยกว่าตัวเอง และกิ่งด้านขวามีค่ามากกว่าต้นเอง หรือทำตรงกันข้ามคือกิ่งซ้ายมีค่ามากกว่า และกิ่งด้านขวามีค่าน้อยกว่า ทำให้การค้นหาข้อมูลในกรณีที่ต้นไม้มีความสมดุลย์ทั้งทางซ้ายและทางขวาบนโครงสร้าง BST ประหยัดเวลาหรือจำนวนครั้งในการค้นหาลงรอบละครึ่งหนึ่งของข้อมูลที่มี เช่น มีข้อมูล 100 ชุด ในรอบแรกถ้าตัวเองยังไม่ใช่ข้อมูลที่กำลังค้นหา จะเหลือทางเลือกให้หาจากกิ่งทางซ้ายหรือขวา ซึ่งการเลือกทำให้ข้อมูลของอีกฝั่งนั้นไม่ถูกพิจารณา หรือตัดทิ้งไปครึ่งหนึ่งโดยประมาณ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ Binary Search Tree นั้นขาดความสมดุลย์จะส่งผลให้การค้นหามีความเร็วไม่แตกต่างกับการค้นหาแบบลำดับ (Sequential Search) เท่าใดนัก

ในบทความนี้ใช้ภาษาไพธอนที่ทำงานได้ทั้งบนตัวแปลภาษา Python 3 หรือ MicroPython เพื่อจัดเก็บข้อมูล การเพิ่มข้อมูล การค้นหาข้อมูล เพื่อเป็นตัวอย่างของการนำไปพัฒนาต่อไป

BST : Binary Search Tree
ภาพที่ 1 ตัวอย่าง BST

[TH] LEDs on/off via PyQt5 and serial communication.

ในบทความนี้ใช้ความรู้จากบทความการอ่านรายชื่อพอร์ตอนุกรมที่ถูกเชื่อมต่อมาปรับปรุงให้เป็นการส่งข้อมูลส่งไปให้บอร์ด Arduino Uno ที่มีหลอดแอลอีดี (LED) เชื่อมต่ออยู่ที่ขา 2,3,4,5,6,7,8 และ 9 ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสั่งเปิดหรือปิดหลอดดังกล่าวด้วยการสั่งงานผ่าน GUI (Graphics User Interface) ของ PyQt5 ดังภาพที่ 1 และส่งข้อมูลไปให้บอร์ด Uno ทางพอร์ตสื่อสารอนุกรมด้วย pySerial โดยในตัวอย่างครั้งนี้ การทำงานรองรับทั้งระบบปฏิบัติการ Windows, macOS และ Linux ซึ่งจะทำให้เห็นว่า PyQt5 และ pySerial สามารถรองรการทำงานกับทั้ง 3 ระบบได้

[TH] List the serial ports connected to the RPi with pySerial and PyQt5.

จากบทความก่อหน้านี้เราได้อ่านรายชื่ออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตอนุกรมของบอร์ด Raspberry Pi หรือ RPi ด้วยไลบรารี pySerial ดังภาพที่ 1 ในแบบโหมดตัวอักษรไปแล้ว ในบทความนี้เป็นการผนวกหลักการทำงานจากก่อนหน้าเข้ากับการใช้ส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิกส์ หรือ GUI (Graphics User Interface) ผ่านทางไลบรารี PyQt5 โดยแสดงรายการเอาไว้ใน combobox เพื่อให้ผู้ใช้งานเลือกใช้งานได้ แต่ถ้าไม่พบพอร์ตสื่อสารอนุกรมที่เชื่อมต่อกับบอร์ด RPi จะปิดการใช้งานของ combobox ไม่ให้ผู้ใช้งานเลือกใช้งาน ดังนั้น บทความนี้จึงมีเนื้อหาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ pySerial กับการใช้งานของ QLabel และ QComboBox ในไลบรารี PyQt5

[TH] List the serial ports connected to the RPi with pySerial.

บทความนี้กล่าวถึงการใช้ไลบรารี pySerial ของภาษาไพธอนบนบอร์ด Raspberry Pi หรือ RPi ทั้งรุ่น 3 และ 4 เพื่อเชื่อมต่อกับพอร์ตสื่อสารอนุกรม (Serial Port) ซึ่งตัวบอร์ดสามารถทำได้ 2 ลักษณะคือ ใช้ฮาร์ดแวร์อย่าง ET-CONV10/RS232 HAT ที่ได้เขียนถึงในหนังสือ กับการใช้พอร์ต USB เชื่อมต่อกับตัวแปลงเป็นพอร์ตสื่อสารอนุกรม (USB to Serial Port) ดังภาพที่ 1 โดยบทความนี้เป็นการใช้แบบที่ 2 เพื่อเรียกใช้ pySerial สำหรับตรวจสอบว่ามีพอร์ตอนุกรมเชื่อมต่ออยู่กี่พอร์ตและชื่ออะไรบ้าง ดังตัวอย่างในภาพที่ 8

ภาพที่ 1 การเชื่อมต่อ ET-USB/RS232 Mini เข้ากับพอร์ต USB ของ RPi

[EN] PyQt5

This article provides an example of opening a window and using a button in response to PyQt5, which is the basis for using the other components. The highlight of Qt is that it is a cross-platform C++ development kit and covers the integration for compatibility with languages such as PyQt, “The python binding for the Qt cross-platform C++ framework” developed by Riverbank Computing Limited, currently released in PyQt 6.1.1 (2021-06-29).

[EN] Digital Compass Sensor

This article describes the MicroPython GY-271 digital compass sensor for use with the ESP8266 or ESP32 (we have experimented with STM32F411CEU6 with Raspberry Pi 3B+ and 4B and found that it can be used as well) to set the operation and read the X,Y and Z axis values from the sensor, then calculate it as the degree of north.

(Figure. 1 GY-271 usage)

[EN] VisionRobo Car: Drive Motor

This article is programming in Python to drive a robot moving with wheels. VisionRobo car is a robot kit that is equipped with a DC motor that is attached to a wheels gear set. It uses a circuit to drive a DC motor connected to Raspberry Pi Board and connect a USB WebCamera Module and Ultrasonic Sensor Module for image processing and calculate the distance of the robot to the surrounding objects.

(Figure. 1 VisionRobo car)