[TH] Simple Tetris Ep.2

จากตอนที่แล้วเราได้วาดฉากหลัง การสุ่มวัตถุ การวาดวัตถุ การเลื่อนซ้ายขวา และการหมุนไปแล้ว ในบทความตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนก่อนตอนสุดท้ายของชุดการทำเกม Tetris โดยเนื้อหาเป็นเรื่องของการสร้างฉากหลังเป็นโครงสร้างข้อมูลตาราง ถ้าวัตถุตกลงมาจนถึงล่างสุดจะแปลงวัตถุนั้นให้เป็นข้อมูลหนึ่งของตาราง ดังภาพที่ 1และปรับปรุงเรื่องวิธีการตกลงมาของวัตถุและการควบคุม/แสดงผลวัตถุใหม่ด้วยการใช้ตัวตั้งเวลา โดยยังไม่ตรวจสอบการชนจากการเลื่อนซ้าย/ขวา การตรวจสอบว่าวัตถุตกลงมาซ้อนกับวัตถุก่อนหน้านี้หรือไม่การหมุน และการตัดแถวซึ่งจะกล่าวถึงในบทความตอนสุดท้ายหรือ Simple Tetris Ep.3

ภาพที่ 1 ตัวอย่างเกมของบทความนี้

[TH] Simple Tetris Ep.1

บทความนี้แนะนำการเขียนเกมเตตริส (Tetris) แบบง่าย โดยแสดงผลในตารางขนาด กว้าง 10 ช่อง และสูง 16 ช่อง ตามภาพที่ 1 โดยใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ esp32 ที่ต่อกับจอแสดงผลแบบ ST7735 และสวิตช์สำหรับควบคุมอีก 8 ตัว ที่สำคัญคือ เขียนด้วยภาษาไพธอนผ่าน MicroPython ที่คอมไพล์ให้ใช้ชุดไลบรารี st7735_mpy ซึ่งในบทความนี้กล่าวถึงการจัดเก็บวัตถุทั้ง 7 แบบที่เป็นสิ่งของหรือวัตถุที่ตกลงมาให้รองรับการแสดงผลและการหมุนวัตถุ กับการเลื่อนวัตถุไปทางซ้ายและขวา ส่วนการควบคุมและตรรกะของเกม Tetris จะกล่าวในบทความถัดไป

ภาพที่ 1 ตัวอย่างเกมของบทความนี้

[TH] How to make the stopwatch?

จากบทความสร้างนาฬิกาที่แสดงผลแบบแอนาล็อกแสดงผ่านจอแสดงผลแบบสี ครั้งนี้นำมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อสร้างการทำงานเป็นเครื่องจับเวลาหรือนาฬิกาจับเวลา (Stopwatch) โดยใช้บอร์ด ESP32-CAM เชื่อมต่อกับจอ TFT และใช้สวิตช์จากขา GPIO0 ที่ใช้เป็นสวิตช์เลือกโหมดทำงานหรือโปรแกรมชิพเมื่อตอนบูตระบบหรือจ่ายไฟเข้าบอร์ด ESP32-CAM ดังภาพที่ 1 และการเขียนโปรแกรมยังคงใช้ภาษาไพธอนกับตัว MicroPython เช่นเคย

ภาพที่ 1 บอร์ด dCore RED บอร์ด esp32cam+REDTAB

[TH] Draw an analog clock using MicroPython.

บทความก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงการปรับปรุงปรับปรุงความเร็วในการแสดงผลด้วยการใช้เทคนิคดับเบิลบัฟเฟอร์ (double buffer) จึงนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการแสดงผลเป็นนาฬิกาแบบแอนาล็อกดังภาพที่ 1 ซึ่งวิธีการวาดนั้นใช้การคำนวณตรีโกณมิติเพื่อหาค่าพิกัด (x,y) ของปลายเข็มวินาที นาที และชั่วโมง โดยการทำงานของแต่ละวินาทีจะใช้ตัวตั้งเวลาหรือไทเมอร์ (Timer) เพื่อให้การทำงานนั้นใกล้เคียงกับเวลาจริงมากกว่าการวนรอบหรือการหน่วงเวลา

ภาพที่ 1 ตัวอย่างผลลัพธ์ของการวาดนาฬิกาแบบแอนาล็อก

[TH] ปรับแต่งไลบรารี st7735 blue-tab/red-tab 0.96 นิ้ว

บทความนี้เป็นการปรับปรุงไฟล์ไลบรารี st7735 สำหรับ Micropythonโดย Billy Cheung (เข้าถึงเมื่อ 2021-09-07) ที่เผยแพร่บน github ซึ่งเป็นไลบรารีที่ปรับปรุงมาจาก Guy Caver จนรองรับ ST7735s โดยไลบรารีที่ต้องใช้งานประกอบด้วย st7735.py และ sysfont.py Guy Carver ใช้งานกับ esp8266 และ esp32 เพื่อให้ความเร็วในการแสดงผลที่ดีขึ้นโดยอาศัยหลักการสร้างบัฟเฟอร์ของการแสดงผลสำหรับเก็บข้อมูลพิกเซลและเพิ่มเติมคำสั่งสำหรับส่งข้อมูลจากบัฟเฟอร์ไปยังโมดูล TFT ผ่านบัสแบบ SPI

ภาพที่ 1 บอร์ด dCore-miniML ที่ติดตั้งโมดูลแสดงผล ST7735 0.96 นิ้ว

[TH] Queue Data Structure

บทความนี้แนะนำการใช้คลาส list ใน Micropython มาประยุกต์เป็นโครงสร้างข้อมูลคิวที่มีจำนวนสมาชิกจำกัด และทำงานตามหลักการ FIFO (First-In-First-Out) ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย เช่น ใช้เป็นที่เก็บข้อมูลและเมื่อข้อมูลมีเต็มแล้วแต่ต้องการนำข้อมูลใหม่ใส่เข้าไป ดังนั้น จึงต้องนำข้อมูลเก่าอันดับที่ 1 ที่ใส่เข้ามาออกไป ซึ่งตรงกับหลักการของ FIFO เป็นต้น โดยตัวอย่างในบทความนี้ใช้บอร์ด dCore-miniML (ในภาพที่ 1) อ่านข้อมูลอุณหภูมิของชิพมาเก็บไว้ในโครงสร้างแบบคิวและแสดงผลออกมาในลักษณะของกราฟแท่ง และไมโครไพธอนที่นำมาใช้เป็นเฟิร์มแวร์รุ่น 1.16 (2021-06-23) สำหรับ ESP Module (SPIRAM)

ภาพที่ 1 ตัวอย่างการวาดกราฟด้วยข้อมูลที่เก็บในโครงสร้างข้อมูลแบบคิว

[EN] ESP8266+ST7735s TFT LCD 0.96″ 80×160 RGB

From the article ST7735S 0.96 ″ 80 × 160 TFT LCD, the features and functions of the pins are discussed with an example of how to connect to the TTGO T8 ESP32. In this article, an example of how to implement a display module with the ESP8266, which has lower memory than ESP32, thus we had to solve the problem by compiling the library to bytes with mpy extension code.

(Figure. 1)

[TH] ESP8266+ST7735s TFT LCD 0.96″ 80×160 RGB565

จากบทความ ST7735S 0.96″ 80×160 TFT LCD ได้กล่าวถึงคุณลักษณะและหน้าที่ของขาเชื่อมต่อพร้อมตัวอย่างการเชื่อมต่อกับ TTGO T8 ESP32 ไปเรียบร้อยแล้ว ในบทความนี้เป็นตัวอย่างการนำโมดูลแสดงผลมาใช้งานกับ ESP8266 ซึ่งมีขีดจำกัดในเรื่องของปริมาณหน่วยความจำที่น้อยกว่า ESP32 จึงต้องแก้ปัญหาด้วยการคอมไพล์ไลบรารีให้เป็นไบต์โค้ดนามสกุล mpy

ภาพที่ 1